ผลการผ่าตัดไส้เลื่อนที่ขาหนีบด้วยวิธี Lichtenstein Tension-Free ระหว่างการฉีดยาชาเฉพาะที่กับฉีดเข้าช่องไขสันหลัง
สุทัศน์ อภัยกุญชรDepartment of Surgery, Mae Sot Hospital
บทคัดย่อ
โรคไส้เลื่อนที่ขาหนีบพบได้ร้อยละ 1.5 ของประชากรทั่วไปจึงเป็นโรคที่พบบ่อยทางศัลยกรรม ได้ศึกษาแบบทดลองทางคลินิกในผู้ป่วยชายโรคไส้เลื่อนที่ขาหนีบข้างเดียวอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปที่มารับการผ่าตัดรักษาด้วยวิธี Lichtenstein tension-free hernioplasty ระหว่างการฉีดยาชาเฉพาะที่กับเข้าช่องไขสันหลังที่โรงพยาบาลแม่สอด ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2552 จำนวน 40 ราย แบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 20 ราย ด้วยการจับสลาก กลุ่มที่หนึ่งได้รับการฉีดยาชาเฉพาะที่ ส่วนกลุ่มที่สองได้รับการฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง ผลการศึกษาพบว่าอายุ การมีโรคอื่นร่วม ชนิดของโรคไส้เลื่อนที่ขาหนีบ การใช้ยาแก้ปวดชนิดฉีด จำนวนวันนอนโรงพยาบาลและภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน แต่ค่าเฉลี่ยของระยะเวลาในการผ่าตัดของผู้ป่วยกลุ่มที่หนึ่งน้อยกว่าผู้ป่วยกลุ่มที่สองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.02) สรุปได้ว่าการฉีดยาชาเฉพาะที่ สามารถใช้เพื่อการผ่าตัดรักษาผู้ป่วยโรคไส้เลื่อนที่ขาหนีบได้ เหมาะต่อผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการดมยาสลบหรือมีปัญหาในการฉีดยาเข้าช่องไขสันหลังและอาจสามารถให้บริการผ่าตัดรักษาแบบผู้ป่วยนอกได้
ที่มา
พุทธชินราชเวชสาร ปี 2553, January-April
ปีที่: 27 ฉบับที่ 1 หน้า 85-91
คำสำคัญ
Spinal, Inguinal hernia, anesthesiaโรคไส้เลื่อนที่ขาหนีบการผ่าตัดโรคไส้เลื่อนที่ขาหนีบการฉีดยาชาเฉพาะที่การฉีดยาชาเข, Hernioplasty, Local anesthesia