ยากิน ketotifen เปรียบเทียบกับยาสูด budesonide ในการควบคุมโรคหืดหลอดลมในเด็ก
ภาวนา ตันติไชยากุล*, อรุณวรรณ พฤทธิพันธุ์Division of Pediatrics, Banpong Hospital, Banpong, Ratchaburi 70110, Thailand. Phone: 032-222-841-46 ext. 274. E-mail: [email protected]
บทคัดย่อ
ภูมิหลัง: International asthma guideline แนะนำการใช้ยาสูดคอร์ติโคสเตียรอยด์เป็นยาตัวแรก ในการควบคุมโรคหืดหลอดลมในเด็กทุกช่วงอายุ อย่างไรก็ตาม สำหรับประเทศกำลังพัฒนา ketotifen ซึ่งเป็นยาเก่าแก่ ราคาไม่แพง มีฤทธิ์ต้านฮิสตามีนและต้านปฏิกิริยาภูมิแพ้ยังถูกใช้มากที่สุดในการป้องกันโรคหืดหลอดลมวัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลและความปลอดภัยของยากิน ketotifen และยาสูด budesonide ในผู้ป่วยเด็กโรคหืดหลอดลม อายุ 8 เดือน ถึง 14 ปี ในโรงพยาบาลบ้านโป่งที่อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางใต้ 80 กิโลเมตรวัสดุและวิธีการ:ทำการศึกษาไปข้างหน้าในปี พ.ศ. 2552 คัดเลือกผู้ป่วยเด็กโรคหืดหลอดลมที่นอนในโรงพยาบาล เนื่องจากโรคหืดหลอดลมกำเริบในปี พ.ศ. 2551 มีประวัติ หอบ 3 ครั้ง ขึ้นไป และตอบสนองดีต่อยาขยายหลอดลมชนิดพ่นฝอยละออง สุ่มผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่รับยากิน ketotifen 16 คน และกลุ่มที่รับยาสูด budesonide 14 คน ผู้ดูแลเด็กจดอาการหอบหืด และการไปพ่นยาที่โรงพยาบาลในสมุดบันทึกทุกวัน นัดตรวจติดตามอาการนาน 26 สัปดาห์ผลการศึกษา: พบว่าผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม ต่างมีจำนวนครั้งที่มาห้องฉุกเฉินลดลง (p < 0.005) โดยทั้ง 2 กลุ่ม มีจำนวนผู้ป่วย ที่มีจำนวนครั้งที่มาห้องฉุกเฉินลดลงไม่แตกต่างกัน (p = 0.16) กลุ่ม ketotifen มีจำนวนวันนอนโรงพยาบาลน้อยกว่า (p < 0.05) กลุ่ม budesonide มี symptom-free days มากกว่า (p < 0.05) ผู้ป่วยสามารถใช้ยาทั้งสองชนิดได้ดีและมีความปลอดภัย ผลข้างเคียงที่พบมีเพียงน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นตลอดช่วงเวลาที่ทำการศึกษา ในกลุ่ม ketotifen มากกว่ากลุ่ม budesonide อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ส่วนสูงที่เพิ่มขึ้นของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันสรุป: ทั้งยากิน ketotifen และยาสูด budesonide มีประสิทธิผลดี ปลอดภัย และใช้ได้ดีในการป้องกันการกำเริบของโรคหืดหลอดลมในเด็กโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนาที่มีทรัพยากรอันจำกัด
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2553, May
ปีที่: 93 ฉบับที่ 5 หน้า 541-549
คำสำคัญ
children, randomized control trial, Asthma, Budesonide, Ketotifen