การเปรียบเทียบผลของการยืดกล้ามเนื้อแบบ Self-stretching และ PNF technique ต่อการเปลี่ยนแปลงระดับความรู้สึกเจ็บปวดด้วยแรงกดบริเวณจุดกดเจ็บของกล้ามเนื้อบ่าในเพศหญิง
ทศพร พิชัยยา, หนึ่งฤทัย บุญยัง*, อาทิตย์ พวงมะลิ
Department of Physical Therapy, Faculty of Associated medical Sciences, Chiangmai University
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการยืดกล้ามเนื้อด้วยวิธี self-static stretching และวิธี PNF stretching เทคนิค agonist contract relax (ACR) ต่อการเปลี่ยนแปลงการรับความรู้สึกเจ็บปวดด้วยแรงกด (pressure pain threshold; PPT) บริเวณจุดกดเจ็บของกล้ามเนื้อบ่า (upper trapezius) เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม โดยศึกษาในเพศหญิงช่วงอายุ 18-25 ปี (21.60 ±0.69) จำนวน 30 คน แบ่งผู้เข้าร่วมการทดลองออกเป็น 3 กลุ่มเท่ากัน โดยการสุ่มจับฉลาก (randomization) ใช้เครื่องมือ pressure algometer ประเมินค่า PPT ของจุดกดเจ็บ โดยกลุ่มที่ 1 รักษาโดยวิธี self-static stretching กลุ่มที่ 2 รักษาวิธี PNF stretching เทคนิค ACR และกลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มควบคุม ซึ่งจะไม่ได้รับการรักษาใดๆ จากนั้นวัดค่า PPT หลังการรักษาทันที, หลังการรักษา 5 นาที และ 15 นาที พบว่าการยืดกล้ามเนื้อวิธี PNF stretching และ self-static stretching มีค่า PPT เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ส่วนกลุ่มควบคุมหลังการรักษาไม่มีการเปลี่ยนแปลงของค่า PPT และเมื่อเปรียบเทียบการรักษาทั้งสามกลุ่มพบว่าการยืดกล้ามเนื้อด้วยวิธี PNF stretching มีค่า PPT หลังการรักษาเพิ่มขึ้น (28.96%) มากกว่าการยืดกล้ามเนื้อวิธี self-static stretching (24.04%) และกลุ่มควบคุม (1.10%) แสดงให้เห็นถึงประสิทธิผลของการยืดกล้ามเนื้อวิธี PNF stretching ที่มีผลต่อการลดความเจ็บปวดบริเวณจุดกดเจ็บของกล้ามเนื้อบ่าได้ค่อนข้างดีกว่าวิธี self-static stretching และกลุ่มควบคุม ดังนั้นการยืดกล้ามเนื้อวิธี PNF stretching (ACR) จึงมีประสิทธิผลในการบรรเทารักษาจุดกดเจ็บค่อนข้างดี จากการศึกษานี้สามารถนำไปประยุกต์เป็นแนวทางในการบำบัดรักษาผู้ที่มีปัญหาจุดกดเจ็บบริเวณกล้ามเนื้อบ่า โดยสามารถทำการยืดกล้ามเนื้อได้ด้วยตนเองหรือประกอบกับการรักษาร่วมวิธีการอื่นๆ ต่อไป
ที่มา
วารสารเทคนิคการแพทย์เชียงใหม่ ปี 2549, September ปีที่: 39 ฉบับที่ 3 หน้า 71-78
คำสำคัญ
pain, ความเจ็บปวด, Trigger point, PNF stretching, Self-stretching, Upper trapezius, กล้ามเนื้อบ่า, การยืดกล้ามเนื้อ, จุดกดเจ็บ, เทคนิค PNF