ผลของการใชัรูปแบบพันธมิตรในการจัดบริการสุขภาพในชุมชนต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ
กันยาลักษณ์ เตชะพงศ์วรชัย
จินตนา ยูนิพันธุ์
บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุก่อนและหลังการใช้รูปแบบพันธมิตรในการจัดบริการสุขภาพในชุมชน และเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในกลุ่มที่ได้รับการใช้รูปแบบพันธมิตรในการจัดบริการสุขภาพในชุมชนกับกลุ่มที่ได้รับการบริการสุขภาพตามปกติ กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยคือ ผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน ในชุมชนสองแห่งในเขตกรุงเทพมหานคร โดยให้ผู้สูงอายุในชุมชนหนึ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 20 คน และผู้สูงอายุอีกชุมชนหนึ่งจำนวนเท่ากันเป็นกลุ่มควบคุม ในกลุ่มทดลอง มีการใช้รูปแบบพันธมิตรในการจัดบริการสุขภาพในชุมชน ส่วนในกลุ่มควบคุม มีการจัดบริการสุขภาพตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการวิจัยนี้ คือ แผนการใช้รูปแบบพันธมิตรในการจัดบริการสุขภาพในชุมชน คู่มือการดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ และแบบตรวจสอบการทำงานของพันธมิตร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบวัดคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์การอนามัยโลกฉบับย่อ (WHOQOL-Brief ) หาความเที่ยงด้วยวิธีของครอนบาค ได้ค่าสัมประสิทธิ์เท่ากับ .85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนหลังการใช้รูปแบบพันธมิตรในการจัดบริการสุขภาพในชุมชน สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบพันธมิตรในการจัดบริการสุขภาพในชุมชน 2. คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนที่ใช้รูปแบบพันธมิตรในการจัดบริการสุขภาพในชุมชนสูงกว่าคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนที่มีการบริการสุขภาพตามปกติ
ที่มา
M.N.S. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2545
คำสำคัญ
care, of, Quality, life, aged, --, Medical