การใช้ ketamine ผสมกับ midazolam ชนิดรับประทานเพื่อเป็นยากล่อมประสาทในผู้ป่วยเด็กที่มารับการตรวจวินิจฉัยทางรังสีวิทยา (CT scan) เปรียบเทียบกับ chloral hydrate
สุณีรัตน์ คงเสรีพงศ์บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาถึงประสิทธิภาพของยา ketamine ผสมกับ midazolam ชนิดรับประทาน (KM) เปรียบเทียบกับ chloral hydrate (C) เพื่อใช้เป็นยากล่อมประสาทในผู้ป่วยเด็กระหว่างการตรวจวินิจฉัยทางรังสีวิทยาที่ไม่มีความเจ็บปวดและใช้เวลาไม่นานกว่า 30 นาที รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมแบบปกปิดสองฝ่าย สถานที่ทำการวิจัย: ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล วิธีการศึกษา: ผู้ป่วยเด็กอายุ 1-3 ปีที่มารับการตรวจวินิจฉัยทางรังสีวิทยาและเข้าเกณฑ์การคัดเลือก 93 ราย แบ่งโดยวิธีสุ่ม เป็นกลุ่มทดลอง (47 ราย) รับประทาน ketamine (10 มก/กก) ผสมกับ midazolam (1 มก/กก) และกลุ่มควบคุม (46 ราย) รับประทาน chloral hydrate (75 มก/กก) ผู้ป่วยได้รับการประเมินสัญญาณชีพพื้นฐาน และระดับความลึกของการกล่อมประสาท การตอบสนองพื้นฐาน เมื่อรับประทานยา ถูกแทงข็มและเมื่อต้องแยกจากผู้ปกครอง คุณภาพของภาพทางรังสีวิทยา วัดปริมาณ propofol ที่ใช้เป็น rescue drug และภาวะแทรกซ้อนจากยาทุกชนิดที่ใช้ รวมถึงความพึงพอใจของผู้ปกครอง ผลการศึกษา: ยา ketamine ผสมกับ midazolam ไม่ทำให้เกิดผลสำเร็จสำหรับการตรวจทางรังสีวิทยาสูงกว่ายา chloral hydrate (71.1% vs 69.9%, P = 1.000) แต่ผู้ป่วยกลุ่ม KM แสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อการแทงเข็ม (P = 0.002) และการสวนปัสสาวะน้อยกว่า (P = 0.075), มีระยะ onset เร็วกว่า (drowsiness, KM:10.1+-6.3; C: 13.5+-6.9 นาที, P = 0.021 และหลับ KM: 15.9+-7.4; C: 20.4+-8.1 นาที, P = 0.009) แต่ตื่นช้ากว่า (recovery, KM: 152.9+-64.8; C: 105.3+-34.2 นาที, P < 0.001 และ discharge, KM: 186.5+-72.5; C:117.8+-35.3 นาที, P < 0.001) และมีผลกดการทำงานของระบบไหลเวียนเลือดและหัวใจมากกว่า โดยเฉพาะเมื่อมีการใช้ propofol ร่วมด้วย รวมถึงภาวะแทรกซ้อน คือ nystagmus, คลื่นไส้ อาเจียน สะอึก เดินเซวุ่นวาย และระดับออกซิเจนในเลือดแดงต่ำ มากกว่า ผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อวิธีการกล่อมประสาทนี้ต่ำกว่า (P < 0.001) แต่ไม่พบความผิดปกติที่มีน้ำลายมาก ความดันเลือดหรืออัตราชีพจรสูงขึ้น สรุป Ketamine ที่ผสมรวมกับ midazolam ชนิดรับประทานนี้เป็นยากล่อมประสาทที่ให้ผลสำเร็จในการตรวจวินิจฉัยทางรังสีวิทยาไม่ดีกว่ายา chloral hydrate แม้ว่าจะออกฤทธิ์เร็วกว่า ผู้ป่วยทนต่อการกระตุ้นได้ดีกว่า แต่ทำให้ผู้ป่วยตื่นช้ากว่าและมีผลแทรกซ้อนมากกว่า ผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่ำกว่า
ที่มา
M.Sc.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปี 2547
คำสำคัญ
Chloral, Ketamin