ต้นทุน-ประสิทธิผลของการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยเบาหวานที่โรงพยาบาลเสนา
สุภัทรชา ไชยรักษ์Aphirudee Hemachudha
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบต้นทุน-ประสิทธิผลระหว่างระบบปกติและระบบการให้บริบาลทางเภสัชกรรมซึ่งเภสัชกรประเมินภาวะผู้ป่วยก่อนจ่ายยาเดิมต่อเนื่องในการบริการผู้ป่วยนอกโรคเบาหวาน โดยเป็นการวิจัยเชิงทดลองที่มีกลุ่มควบคุมและมีการทดสอบก่อนและหลัง ซึ่งดำเนินการในช่วงเดือนตุลาคม 2544 ถึง กุมภาพันธ์ 2545 ที่โรงพยาบาลเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทำการสุ่มผู้ป่วยที่ผ่านการพิจารณาจากแพทย์ตามเกณฑ์ที่กำหนดให้สามารถรับยาเดิมต่อเนื่องได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งตามความความสมัครใจของผู้ป่วย จัดเข้ากลุ่ม 2 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมีผู้ป่วยจำนวน 52 ราย ได้แก่ กลุ่มทดลองซึ่งได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรมและนัดติดตามทุก 1 เดือน จนครบ 3 เดือน และกลุ่มควบคุมซึ่งได้รับบริการในระบบปกติของโรงพยาบาลและนัดมาพบแพทย์เมื่อครบ 3 เดือน เมื่อสิ้นสุดการศึกษา มีจำนวนผู้ป่วยทั้งสิ้น 104 ราย ผลการศึกษา พบว่าหลังจากติดตามจนครบ 3 เดือน ต้นทุนของการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งต้นทุนในด้านของโรงพยาบาลและในด้านของผู้ป่วยเบาหวานของระบบการให้บริบาลทางเภสัชกรรมสูงกว่าการดูแลผู้ป่วยโดยระบบปกติ(288.31และ 181.79 บาท; 812.35 และ 425.91 บาท) อย่างไรก็ตาม ต้นทุนในด้านของโรงพยาบาลและในด้านของผู้ป่วยเบาหวานเมื่อไม่รวมค่ายาต่อครั้ง ในกลุ่มทดลองมีค่าใกล้เคียงกับกลุ่มควบคุม คือ 44.48 บาท และ 31.77 บาท ตามลำดับ ในด้านประสิทธิผล พบว่าผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดเฉลี่ยเพิ่มขึ้นทั้งสองกลุ่มโดยผู้ป่วยในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีระดับน้ำตาลในเลือดเฉลี่ยเท่ากับ 148.02+-45.02 มก./ดล. และ 142.12+-37.69 มก./ดล. ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) ทำให้ไม่สามารถแสดงประสิทธิผลที่แตกต่างได้ และพบว่าผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลในเลือด is more than or equal to 150 มก./ดล. เมื่อนัดติดตามจนครบ 3 เดือน มีจำนวนเพิ่มขึ้นในกลุ่มทดลอง จำนวน 7 รายซึ่งน้อยกว่าในกลุ่มควบคุมที่พบว่าเพิ่มขึ้นจำนวน 13 ราย ระหว่างการศึกษามีผู้ป่วยที่ต้องส่งกลับไปพบแพทย์เมื่อนัดติดตามครั้งที่ 1 และ 2 จำนวนครั้งละ 8 ราย เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดไม่อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด คือ น้อยกว่า 80 มก./ดล. และ 200 มก./ดล หรือพบผลแทรกซ้อน ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อระบบการให้บริบาลทางเภสัชกรรมน่าจะเป็นเพราะการลดระยะเวลาในการรอ และความสะดวกรวดเร็วในการมารับยา และได้รับความรู้เรื่องการใช้ยาเพิ่มขึ้น ดังนั้นระบบการให้บริบาลทางเภสัชกรรม อาจเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่มีไว้รองรับบริการผู้ป่วยโรคเบาหวานในกรณีที่มีอายุรแพทย์ไม่เพียงพอ ...
ที่มา
M.Sc.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปี 2546
คำสำคัญ
care, Diabetes, Pharmacy, Costs, Hospital, Patient, Pharmaceutical, Sena