การวิเคราะห์ต้นทุน-ประสิทธิผลของเครื่องดูดยาแบบผงแห้ง และเครื่องสูดยาแบบใช้สารผลักดันร่วมกับการใช้สเปซเซอร์ในการรักษาผู้ป่วยเด็กโรคหืดที่มีอาการหอบเฉียบพลัน: กรณีศึกษาของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
กรรณิกา หนูม่วงPongsa Pornchaiwiseskul
บทคัดย่อ
การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบต้นทุน-ประสิทธิผลของเครื่องสูดยาแบบผงแห้งและเครื่องสูดยาแบบใช้สารผลักดันร่วมกับการใช้สเปซเซอร์ สำหรับนำส่งยาซิลบิวตามอล เพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วยเด็กโรคหืดอายุ 5 ถึง 18 ปี ที่มีอาการหอบเฉียบพลันระดับความรุนแรงน้อยถึงปานกลาง การศึกษานี้เป็นการวิจัยชนิดศึกษาย้อนหลัง ซึ่งใช้ข้อมูลทางคลินิกจากการวิจัยสหสถาบัน โดยเลือกโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เป็นสถานที่สำหรับการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ ผู้ป่วยจำนวน 80 รายที่มีอาการหอบเฉียบพลันระดับความรุนแรงน้อยถึงปานกลางเข้าร่วมในการศึกษา และติดตามผลการรักษาเป็นเวลา 3 วัน จำนวนผู้ป่วยที่เท่ากัน (40 ราย) ถูกแบ่งกลุ่มโดยการสุ่ม เพื่อให้ได้รับยาซัลบิวตามอลนำส่งเครื่องสูดยาแบบผงแห้งหรือเครื่องสูดยาแบบใช้สารผลักดันร่วมกับกาใช้สเปซเซอร์ การคิดต้นทุนของการรักษาโรคหืดเป็นไปตามมุมมองของผู้ให้บริการสุขภาพและมุมมองของผู้ป่วย ต้นทุนรวมทั้งหมดของผู้ให้บริการสุขภาพได้จากต้นทุนค่าบริการพื้นฐานรวมกับต้นทุนค่าบริการทางการแพทย์ และต้นทุนทั้งหมดของผู้ป่วยได้จากต้นทุนทางตรงที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาลรวมกับต้นทุนทางอ้อม โดยต้นทุนทั้งหมดที่แสดงในการศึกษานี้มีค่าเป็นเงินบาทในปี พ.ศ. 2548 ผลลัพธ์ของการศึกษานี้คือจำนวนและอัตราร้อยละของผู้ป่วยที่ประสบความสำเร็จในการรักษา เมื่อเวลาผ่านไป 60 นาที จากผลการศึกษา พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญของอัตราร้อยละของผู้ป่วยที่ประสบความสำเร็จในการรักษา เมื่อเปรียบเทียบระหว่าง 2 กลุ่มการรักษา ถึงแม้จะมีแนวโน้มของอัตราร้อยละที่สูงกว่า ในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาสูดผ่านทางเครื่องสูดยาแบบผงแห้งก็ตาม (92.5% และ 90.0%) ค่าเฉลี่ยของต้นทุนรวมทั้งหมดของผู้ให้บริการสุขภาพและของผู้ป่วยเมื่อได้รับยาสูดผ่านทางเครื่องสูดยาแบบผงแห้ง มีค่าต่ำกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างไม่มีนัยสำคัญของสถิติ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% (180.98 บาท และ 239.63 บาท ตามมุมมองของผู้ให้บริการสุขภาพ; 355.99 บาท และ 496.27 บาท ตามมุมมองของผู้ป่วย) นอกจากนี้ยังพบว่าสัดส่วนต้นทุน-ประสิทธิผล และต้นทุนที่เพิ่มขึ้นต่อ 1 หน่วยประสิทธิผลที่เพิ่มขึ้น มีความคุ่มค่าในกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้เครื่องสูดยาแบบผงแห้ง และเมื่อมีการเปลี่ยนจกกาใช้เครื่องสูดยาแบบใช้สารผลักดันร่วมกับการใช้สเปซเซอร์ ไปเป็นการใช้เครื่องสูดยาแบบผงแห้ง พบว่าต้นทนุต่อ 1% ที่เพิ่มขึ้นของผู้ป่วยที่ประสบความสำเร็จในการรักษาจะลดลง ...
ที่มา
M.Sc
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปี 2548