บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการศึกษา : เพื่อเปรียบเทียบผลของโมโคลบีมายด์และอัลพราโซแลมในการรักษาโรคพานิค วิธีการ : randomized double-blind controlled trial ศึกษาในผู้ป่วยโรคพานิคตามการวินิจฉัย DSM-IV 186 ราย โดยมีผู้ป่วย 93 ราย ได้รับการรักษาด้วยยาโมโคลบีมายด์และ 93 ราย ได้รับการรักษาด้วยยาอัลพราโซแลม มีระยะเวลาการศึกษา 8 อาทิตย์ ผู้ป่วยจะได้รับการสอนและแนะนำให้บันทึกอาการพานิคที่เกิดขึ้นทั้งหมดหลังจากที่ได้รับยาในสมุดบันทึกอาการพานิคแล้วจิตแพทย์จะประเมินและนับจำนวนตามเกณฑ์ DSM-IV ผลของยาในการลดการเกิดอาการพานิคจะวิเคราะห์ด้วย poisson regression and Generalized Estimating Equations (GEE) ผลการศึกษา : โมโคลบีมายด์และอัลพราโซแลมสามารถลดอาการพานิคได้ตั้งแต่อาทิตย์แรกของการรักษาและอาการพานิคลดลงจนถึงอาทิตย์สุดท้ายของการรักษา ในอาทิตย์แรกอัลพราโซแลมสามารถลดการเกิดอาการพานิคได้มากกว่าโมโคลบีมายด์ Diff IR = 0.96 (95%CI = 0.36-1.55) แต่หลังจากอาทิตย์ที่ 3 โมโคลบีมายด์จะลดการเกิดอาการพานิคได้มากกว่า โดยมีผลต่างของอัตราการเกิดอาการพานิคตามลำดับจากอาทิตย์ที่ 4-6 ดังนี้ Diff IR = -0.42[95%CI = (-0.62)-(-0.24)], -0.27[95%CI = (-0.42)-(-0.13)], -0.44[95%CI = (-0.61)-(-1.55)], -0.7[95%CI = (-0.29)-(0.05)], and-0.22[95%CI = (-0.34)-(-0.11)] ผลการวิเคราะห์ด้วย GEE โดยนำจำนวนอาการพานิคก่อนการรักษา อายุ และเพศเข้ามาปรับด้วยจะได้ดังนี้ adjusted incidence rate ratio = 0.88 (95%CI = 0.76-1.02) P = 0.084 สรุปผลการศึกษา : โมโคลบีมายด์และอัลพราโซแลมเป็นยาที่ได้ผลในการรักษาผู้ป่วยโรคพานิค สามารถลดอาการพานิคได้ดี แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในการลดการเกิดอาการพานิค
ที่มา
Master of Science
คณะ Health Development
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปี 2543
คำสำคัญ
Therapeutic, chemotherapy, Alprazolam, attacks, disorders, Moclobemide, Panic, use