อาการไม่สบายในคอหลังจากใส่ท่อหายใจระหว่าง LMA-ProSeal กับ Profile Soft-Seal Cuff ในผู้ป่วยนอกที่มารับการส่องกล้องทางนรีเวช
เกศชาดา เอื้อไพโรจน์กิจสมรัตน์ จารุลักษณานันท์
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความรุนแรงของอาการไม่สบายในลำคอ ได้แก่ อาการเจ็บคอ กลืนลำบาก และเสียงแหบ ระหว่างการใส่ท่อหายใจแบบ LMA-ProSeal กับท่อหายใจแบบ Profile Soft-Seal Cuff endotracheal tube (PSSC) ในระยะแรก (2 ชม.) และระยะหลัง (24 ชม.) หลังผ่าตัดส่องกล้องทางนรีเวชแบบผู้ป่วยนอก รูปแบบการศึกษา: การศึกษาเชิงทดลองทางคลินิกแบบปกปิดสองฝ่ายโดยการสุ่มตัวอย่าง สถานที่ทำการวิจัย: โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เฉลิมพระเกียรติ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ วิธีการศึกษา ผู้ป่วย 138 รายที่มารับการส่องกล้องทางนรีเวชแบบผู้ป่วยนอก จะได้รับการจัดเป็น 2 กลุ่มโดยวิธีสุ่มคือ กลุ่มหนึ่งได้รับการใส่ท่อหายใจด้วย PSSC และอีกกลุ่มหนึ่งด้วย PLMA โดยทั้ง 2 กลุ่มได้รับยาสลบตามวิธีมาตรฐาน ประเมินอาการเจ็บคอ กลืนลำบาก และเสียงแหบ และอาการคลื่นไส้หรืออาเจียน ที่ 2 และ 24 ชั่วโมง ความพึงพอใจที่ 5 ระดั ต่อวิธีที่ได้รับการใส่ท่อหายใจเมื่อครบ 24 ชั่วโมง ผลการศึกษา: ผู้ป่วยมีอาการเจ็บคอและเสียงแหบ ณ เวลา 2 ชั่วโมงในกลุ่ม PLMA น้อยกว่า PSSC (P= 0.016 และ P = 0.003 ตามลำดับ) แต่ไม่พบความแตกต่าง ณ เวลา 24 ชั่วโมง รวมทั้งความแตกต่างของอาการกลืนลำบาก คลื่นไส้ อาเจียน และความพึงพอใจระหว่างกลุ่ม สรุป PLMA ทำให้เกิดอาการเจ็บคอและเสียงแหบในระยะแรกน้อยกว่า PSSC PLMA จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของท่อหายใจสำหรับการดมยาสลบในการส่องกล้องทางหน้าท้องในผู้ป่วยนอกทางนรีเวช
ที่มา
Master of Science
คณะ Health Development
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปี 2547
คำสำคัญ
pain, neck, laparoscopy, Respirators