การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลประโยชน์ของการติดตามเฝ้าระวังการเกิดอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างใกล้ชิด ณ หอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่
Janejira Tasilaผศ.ดร.อัญชลี เพิ่มสุวรรณ
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ต้นทุน-ผลประโยชน์ของการติดตามเฝ้าระวังการเกิดอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างใกล้ชิด ณ หอผู้ป่วยอายุรกรรมโรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ เก็บข้อมูลแบบไปข้างหน้าในผู้ป่วยในที่เกิดอาการอันไม่พึงระสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และเข้ารับการรักษาช่วงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2547 ถึง 31นาคม 2548 ผลิตภัณฑ์สุขภาพนี้ครอบคลุมถึงยา สารน้ำ เลือด และผลิตภัณฑ์จากเลือด ศึกษาเฉพาะต้นทุนทางตรงที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการทางการแพทย์ ในมุมมองของผู้ให้บริการผลการศึกษาพบว่า ในช่วงระยะเวลาการเก็บข้อมูลมีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาทั้งสิ้น 1,407 รายบการเกิดอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพในผู้ป่วย 31 ราย มีผู้ป่วย 3 ราย เกิดอาการอันไม่พึงประสงค์ 2 อาการ ดังนั้นจึงพบอาการอันไม่พึงประสงค์ทั้งหมด 34 อาการ พบการดอาการอันไม่พึงประสงค์มากที่สุดในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 60 ปี คิดเป็นร้อยละ 67.74บัติการณ์ของการเกิดอาการอันไม่พึงประสงค์ทั้งหมดเท่ากับ 0.02ในจำนวนอาการอันไม่พึงประสงค์ 34 อาการ เป็นอาการอันไม่พึงประสงค์ในกรณีที่เภสัชกรพบอาการอันไม่พึงประสงค์ขณะที่ผู้ป่วยเกิดอาการอันไม่พึงประสงค์นั้นแล้วจำนวน 20อาการ และเป็นอาการอันไม่พึงประสงค์ที่สามารถป้องกันได้ จำนวน 14 อาการ ยาเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เป็นสาเหตุของการเกิดอาการอันไม่พึงประสงค์มากที่สุด (ร้อยละ 94.12) อาการอันไม่พึงประสงค์จำแนกประเภทเป็นชนิดป้องกันได้ (ร้อยละ 52.94) ชนิดไม่ร้ายแรง (ร้อยละ 80) หรือระดับความน่าจะเป็นระดับน่าจะใช่ (ร้อยละ 75)ต้นทุนที่ใช้ในการติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพเท่ากับ57,054.65 บาท จำแนกเป็นต้นทุนค่าแรง 37,577.50 บาท ต้นทุนค่าวัสดุ 500.00 บาท ต้นทุนค่าลงทุน 1,162.79 บาท และต้นทุนที่ใช้ในการวินิจฉัยและรักษาอาการอันไม่พึงประสงค์ 17,814.36บาท เมื่อไม่คิดค่า Hemodialysis มูลค่าที่ประหยัดได้จากการติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ เท่ากับ 123,635.76 บาท ค่า Net Benefit เท่ากับ 66,581.11 บาท ค่า Benefit toCost Ratio เท่ากับ 2.17 เมื่อคิดค่า Hemodialysis 1 ครั้งตลอดระยะเวลาการเกิดอาการอันไม่พึงประสงค์ มูลค่าที่ประหยัดได้จากการติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพเท่ากับ 161,635.76 บาท ค่า Net Benefit เท่ากับ 104,581.11 บาท ค่า Benefit to Cost Ratio เท่ากับ2.83 ผลการวิเคราะห์ความไว พบว่า Net Benefit และ B/C ratio มีค่าเพิ่มขึ้น เมื่อมีการเพิ่มจำนวนวันเฉลี่ยทั้งหมดของการเกิดอาการอันไม่พึงประสงค์ หรือมีการเพิ่มจำนวนวันเฉลี่ยของการเกิดอาการอันไม่พึงประสงค์ของยา Digoxin แต่ค่า Net Benefit และ B/Cost ratio มีค่าลดลง เมื่อต้นทุนค่าแรงของเภสัชกรในการติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์เพิ่มขึ้นการติดตามเฝ้าระวังการเกิดอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างใกล้ชิดเป็นโครงการที่ควรทำต่อเนื่อง เนื่องจากจัดเป็นโครงการที่มีความคุ้มทุนในการลงทุน
ที่มา
เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต : สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ปี 2548
คำสำคัญ
Health, effectiveness, Cost, Hospitals, services, Chiang MAI, Inpatient, products