การศึกษาแบบสุ่มปกปิดเพื่อประเมินผลของการใช้ยามิโสพรอสตอลทางช่องคลอดเปรียบเทียบกับยาหลอกในการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายวิภาคของปากมดลูกในผู้ป่วยที่มีผลการส่องกล้องตรวจปากมดลูกไม่เป็นที่น่าพอใจ
กมล ภัทราดูลย์, ศิริวรรณ ตั้งจิตกมล, สุมนมาลย์ มนัสศิริวิทยา, เถาวลัย ถาวรามร*Department of Obstetrics and Gynecology, BMA Medical College and Vajira Hospital
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางภายวิภาคของปากมดลูกจากไม่เป็นที่น่าพอใจเป็นผลเป็นที่น่าพอใจจากการส่องกล้องตรวจปากมดลูกระหว่างการใช้ยามีโสพรอสตอลเหน็บช่องคลอดดับยาหลอกรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบสุ่มปกปิดมีกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มตัวอย่าง: สตรี 34 ราย ที่มีผลการตรวจเซลล์ปากมดลูกผิดปกติ ที่มารับการส่องกล้องตรวจปากมดลูกที่หน่วยมะเร็งนรีเวชวิทยา วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ.2553 และมีผลการส่องกล้องตรวจปากมดลูกไม่เป็นที่น่าพอใจวิธีดำเนินการวิจัย: ทำการสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มศึกษาได้รับยามีโสพรอสตอลขนาด 200 ไมโครกรัม 2 เม็ด เหน็บช่องคลอด กลุ่มควบคุมได้รับยาหลอกโดยใช้วิตามินบี 6 ขนาด 100 มก. ที่มีลักษณะเหมือนยามีโสพรอสตอล 2 เม็ด เหน็บช่องคลอด นัดให้ผู้ป่วยมาส่องกล้องตรวจปากมดลูกอีกครั้งใน 1 สัปดาห์หลังการส่องกล้องครั้งแรก และจ่ายยาที่จัดเตรียมไว้ในซองที่ไม่ได้ระบุชนิดของยา เพื่อให้สตรีเหน็บด้วยตนเองในคืนก่อนมาตรวจส่องกล้องซ้ำ แนะนำให้สตรีสังเกตและบันทึกอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นหลังเหน็บยา นัดตรวจส่องกล้องประมาณ 12 ชั่วโมงหลังเหน็บยา นัดตรวจส่องกล้องประมาณ 12 ชั่วโมงหลังเหน็บยา และทำการตัดชิ้นเนื้อตรวจตามข้อบ่งชี้ ทั้งนี้ผู้ป่วย แพทย์มะเร็งนรีเวชผู้ทำการส่องกล้องตรวจซ้ำ และผู้วิจัยที่ทำการเก็บข้อมูลไม่ทราบชนิดของยาที่ผู้ป่วยได้รับตัววัดที่สำคัญ: การเปลี่ยนแปลงของปากมดลูกเป็นที่น่าพอใจ และผลข้างเคียงของยาผลการวิจัย: สตรี 18 รายอยู่ในกลุ่มศึกษา และ 16 รายอยู่ในกลุ่มควบคุม พบบางส่วนของยาเหน็บเหลืออยู่ในช่องคลอดขณะส่องกล้องตรวจ ร้อยละ 33.4 ในกลุ่มศึกษา และร้อยละ 31.2 ในกลุ่มควบคุม ผลการส่องกล้องตรวจปากมดลูกในกลุ่มศึกษามีการเปลี่ยนแปลงเป็นที่น่าพอใจ ร้อยละ 55.6 ส่วนในกลุ่มควบคุม ไม่มีรายใดที่ผลการเปลี่ยนแปลงของปากมดลูกเป็นที่น่าพอใจ (p-value < 0.001) ภาวะหมดระดู ลักษณะของรูเปิดปากมดลูก และปริมาณยาเหน็บที่เหลือไม่มีความสัมพันธ์กับอัตราการเปลี่ยนแปลงของปากมดลูกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลข้างเคียงในกลุ่มที่ได้รับยามีโสพรอสตอล ได้แก่ อาการปวดท้องน้อยซึ่งพบร้อยละ 27.8 อาการถ่ายเหลว เลือดออกทางช่องคลอด และมีไข้พบได้ร้อยละ 11.1 เท่ากัน ส่วนในกลุ่มควบคุมผลข้างเคียงมีเพียงปวดท้องน้อยเล็กน้อยซึ่งพบร้อยละ 6.2 อาการข้างเคียงที่พบนี้แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติสรุป: การให้ยามีโสพรอสตอลเหน็บช่องคลอดสามารถเปลี่ยนแปลงผลการส่องกล้องตรวจปากมดลูกที่ไม่เป็นที่น่าพอใจให้เป็นที่น่าพอใจได้หลังเหน็บยา 12 ชั่วโมง และมีอาการข้างเคียงเพียงเล็กน้อย
ที่มา
วชิรเวชสาร ปี 2553, September-December
ปีที่: 54 ฉบับที่ 3 หน้า 239-250
คำสำคัญ
Vaginal misoprostol, Unsatisfactory colposcopy