ประสิทธิผลของข้าวผงผสมเกลือแร่ในผู้ป่วยเด็กอุจจาระร่วงเฉียบพลัน
ขวัญตา เอื้ออุฬาร, ภาสกร ศรีทิพย์สุโข*, ศุกระวรรณ อินทรขาวDepartment of Pediatrics, Faculty of Medicine Thammasat University, RangsitCampus, Patumthanee 12120, Thailand
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบผลการรักษาระหว่างข้าวผงผสมเกลือแร่กับผงเกลือแร่มาตรฐานในผู้ป่วยเด็กโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันและเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
วัสดุและวิธีการ: เป็นการศึกษาในผู้ป่วยเด็กชายและเด็กหญิงที่มีอายุตั้งแต่ 9 เดือน ถึงอายุ 5 ปี ที่วินิจฉัยเป็น
โรคอุจาระร่วงเฉียบพลันซึ่งรับไว้ในโรงพยาบาลในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติระยะเวลาตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 ถึง 31 มกราคม พ.ศ. 2551 จำนวน 70 ราย โดยการสุ่มตัวอย่างซึ่งกลุ่มแรกได้รับข้าวผงผสมเกลือแร่ เป็นกลุ่มรักษาจำนวน 35 ราย และกลุ่มที่สองได้รับผงเกลือแร่มาตรฐาน (ผลิตโดยองค์การเภสัชกรรม) เป็นกลุ่มควบคุมจำนวน 35 ราย เด็กทุกรายได้รับการรักษาโดยสารน้ำทางหลอดเลือดดำตามดุลพินิจแพทย์ผู้รักษา และเริ่มให้สารละลายน้ำตาลเกลือแร่ทางปากเพื่อรักษาภาวะขาดน้ำภายใน 4 ชั่วโมงแรก โดยผู้ป่วยทุกรายสามารถให้นมหรือข้าวบดในปริมาณเท่าที่รับได้ มีการประเมินผลการรักษาจาก จำนวนครั้งของการถ่ายเหลว จำนวนชั่วโมงของการถ่าย น้ำหนักที่เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับน้ำหนักแรกรับ ปริมาณน้ำเกลือที่ได้รับทางหลอดเลือดและระยะเวลาการรักษา
ผลการศึกษา: เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบทั้ง 2 กลุ่ม จากจำนวนชั่วโมงของการถ่ายเหลวในโรงพยาบาล
ก่อนผู้ป่วยถ่ายอุจจาระปกติ พบว่ากลุ่มรักษาด้วยข้าวผงผสมเหลือแร่มีจำนวนชั่วโมงที่น้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม คือ 27.5 ชั่วโมง และ 40.5 ชั่วโมง ตามลำดับโดยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.01) นอกจากนั้น ระยะเวลาในการรักษาในโรงพยาบาลของกลุ่มรักษาคิดเป็น 40.1 ชั่วโมง ซึ่งน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม 56 ชั่วโมง (p-value = 0.02) อย่างไรก็ตามพบว่าจำนวนครั้งของการถ่ายเหลว น้ำหนักที่เปลี่ยนแปลงและปริมาณสารน้ำทางหลอดเลือดของทั้ง 2 กลุ่มไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป: การรักษาโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันโดยข้าวผงผสมเกลือแร่นั้นช่วยลดระยะเวลาการถ่ายเหลว และระยะเวลาการรักษาในโรงพยาบาลเมื่อเทียบกับการรักษาโดยผงเกลือแร่มาตรฐาน
ที่มา
วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ ปี 2553, December
ปีที่: 93 ฉบับที่ Suppl 7 หน้า S21-S25
คำสำคัญ
Acute watery diarrhea, Rice-based oral rehydration solution (R-ORS), Glucose-based oral rehydration solution (G-ORS)