คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ที่ได้รับสารสกัดตำรับยา เบญจกูลเทียบกับยาลอราทาดีน (Loratadine)
กตัญชลี ห่วงเอี่ยม*, ไวพจน์ จันทร์วิเมลือง, อรุณพร อิฐรัตน์, ณิชมน มุขสมบัติ, ปรรณณวัชญ์ ไชยวัฒนนันทน์
สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จังหวัดปทุมธานี ประเทศไทย 12120
บทคัดย่อ
บทนำ:   ตำรับยาเบญจกูลประกอบด้วยสมุนไพร 5 ชนิด คือ ผลดีปลี รากช้าพลู เถาสะค้าน เหง้าขิงแห้ง และรากเจตมูล เพลิงแดง จากการศึกษาก่อนหน้านี้พบว่าสารสกัดตำรับยาเบญจกูลชั้น 95% เอทานอล มีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่ง เอนไซม์ β-hexosaminidase ในเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวหนู (rat basophilic leukemia) ชนิด RBL-2H3 และ บ่งชี้ว่าสารสกัดตำรับยาเบญจกูลอาจมีฤทธิ์ต้านการแพ้ ดังนั้น สารสกัดตำรับยาเบญจกูลอาจจะนำมาใช้แทน ยาสังเคราะห์และช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ได้ไม่น้อยกว่าการใช้ยาแผนปัจจุบัน ที่นิยมกันอยู่ทุกวันนี้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ที่ได้รับสารสกัดตำรับยาเบญจกูลเทียบกับผู้ป่วยโรค จมูกอักเสบจากภูมิแพ้ที่ได้รับยาลอราทาดีน
วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการวิจัยทางคลินิกระยะที่ 2 ซึ่งได้รับการอนุมัติการทำวิจัยโดยคณะอนุกรรมการจริยธรรม การวิจัยในคน ชุดที่ 1 ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การศึกษานี้คัดเลือกอาสาสมัคร จำนวน 60 คน ที่ได้รับ การวินิจฉัยว่าเป็นโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้โดยแพทย์เฉพาะทางด้านโสต ศอ นาสิกวิทยา อาสาสมัครจะถูก แบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มทดลองได้รับยาไปรับประทานสารสกัดตำรับยาเบญจกูล ขนาด 300 มิลลิกรัมต่อวัน ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับยาลอราทาดีน ขนาด 10 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ อาสาสมัครทุกท่านจะได้รับการประเมินคุณภาพชีวิตด้วยแบบประเมินคุณภาพชีวิตเฉพาะโรคจมกูอักเสบ (Rhinoconjuctivitis Quality of Life questionnaires หรือ RCQ-36) ที่ 0, 3 และ 6 สัปดาห์ และข้อมูลทั้งหมดจะถูกนำมาวิเคราะห์ผลทางสถิติ
ผลกรศึกษา: หลังจำกกลุ่มตัวอย่างได้รับการรักษาเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ที่ได้รับสารสกัดตำรับยาเบญจกูลไม่มีความแตกต่างกับผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ที่ได้รับยาลอราทาดีน นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ที่ได้รับสารสกัดตำรับยาเบญจกูล มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) โดยการลดอาการทางจมูก (Rhinitis symptoms: RS) อาการทางตา (Eye symptoms: ES) อาการที่ไม่ใช่อาการทางจมูกหรือตา (Other symptoms: OS) ปัญหาด้านการทำงานหรือเรียน (Physical functioning: PF) กิจกรรมที่ทำได้จำกัด (Role Limitation: RL) ปัญหาการนอนหลับ (Sleep: S) ปัญหาการเข้าสังคม (Social functioning: SF) อารมณ์ (Emotions: E) และคุณภาพชีวิตโดยรวม (Overall health: OH) ได้ที่สัปดาห์ที่ 3 และ 6 ของการรักษา จากผลการศึกษานี้จึงสรปุได้ว่าสารสกัดตำรับยาเบญจกูลช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้
วิจารณ์: สารสกัดตำรับยาเบญจกูลลดอาการโดยรวมทางจมูกและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หลังจากได้รับการรักษาเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ ดังนั้น สารสกัดตำรับยาเบญจกูลอาจถูกเลือกเป็นยาสำหรับรักษาโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้
 
ที่มา
ธรรมศาสตร์เวชสาร ปี 2562, January-March ปีที่: 19 ฉบับที่ 1 หน้า 36-45
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, Loratadine, Allergic rhinitis, คุณภาพชี่วิต, Benjakul Extract, ตำรับยาเบญจกูล, โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้, ยาลอราทาดีน