การศึกษาประสิทธิผลของการอบไอน้ำสมุนไพรเพื่อบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ
ปรีชา หนูทิม*, คัญฑมารา สิทธิไกรพงษ์, ปารัณกุล ตั้งสุขฤทัยThai Traditional and Integrated Medical Hospital, Department of Thai Traditional and Alternative Medicine, Ministry of Public Health
บทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการทดลองแบบสุ่ม มีกลุ่มควบคุม และปกปิดข้อมูลการรักษาของกลุ่มอาสาสมัคร (single blind randomized controlled trial) เพื่อประเมินประสิทธิผลของการอบไอน้ำสมุนไพรเปรียบเทียบกับการอบไอน้ำที่ไม่มีสมุนไพรในการรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยชายหญิงอายุ 25-60 ปี ที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อซึ่งมารับการรักษาที่โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก จำนวน 60 คน โดยสุ่มแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละเท่ากัน กลุ่มที่ 1 รักษาด้วยการอบไอน้ำสมุนไพร และกลุ่มที่ 2 รักษาด้วยการอบไอน้ำไม่มีสมุนไพร การอบทั้ง 2 กลุ่ม จะใช้เวลาในการอบครั้งละ 30 นาทีต่อครั้ง อบสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ตลอดระยะเวลา 4 สัปดาห์ ประเมินผลระดับอาการปวดก่อนและหลังการรักษาด้วย Visual analog scale พบว่าทั้งกลุ่มที่ได้รับการอบไอน้ำสมุนไพรและการอบไอน้ำ ระดับอาการปวดกล้ามเนื้อลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการรักษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม พบว่าระดับอาการปวด กล้ามเนื้อทั้งก่อนและหลังการรักษาไม่แตกต่างกัน ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการอบไอน้ำไม่มีสมุนไพรครั้งละ 30 นาที อบสัปดาห์ละ 3 ครั้ง จำนวน 4 สัปดาห์ สามารถลดอาการปวดกล้ามเนื้อได้ไม่แตกต่างจากการอบไอน้ำสมุนไพรสำหรับระดับความพึงพอใจเมื่อเปรียบเทียบระหว่างก่อนการรักษากับหลังการรักษากลุ่มที่ได้รับการอบไอน้ำสมุนไพรจะมีระดับความพึงพอใจมากกว่าแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่มา
วารสารวิชาการสาธารณสุข ปี 2562, September-October
ปีที่: 28 ฉบับที่ Suppl 2 หน้า S101-S112
คำสำคัญ
ประสิทธิผล, Efficacy, อาการปวดกล้ามเนื้อ, Efficacy, Muscle Pain, Herbal steam bath, steam bath, การอบไอน้ำสมุนไพร, การอบไอน้ำไม่มีสมุนไพร