ประสิทธิผลและความปลอดภัยของยาทาพระเส้นในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมปฐมภูมิเปรียบเทียบกับยาครีมทาแก้ปวด : การศึกษาเปิดเผยแบบสุ่ม
ภูริทัต กนกกังสดาล, มาลิน ไวประดับ, พัชรา ตุ้นสกุล, เครือวัลย์ ก้านลำไย, โรจน์ คุณอเนก, อรุณพร อิฐรัตน์*สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120 E-mail: [email protected]
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยของตำรับยาทาพระเส้นในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมปฐมภูมิ เปรียบเทียบกับยาครีมทาแก้ปวด วิธีการ: การศึกษาเป็นการวิจัยเปิดเผยแบบสุ่ม การศึกษาแบ่งอาสาสมัคร 60 คนเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับยาทาพระเส้น ครั้งละ 6 มิลลิลิตรวันละ 3 ครั้ง จำนวน 31 คน และกลุ่มที่ได้รับยาครีมทาแก้ปวด ครั้งละ 1 กรัม วันละ 3 ครั้ง จำนวน 29 คน ระยะเวลาติดตามอาการ คือ 14 วัน ประสิทธิผลของการรักษาประเมินจากระดับความปวดของข้อเข่า โดยใช้visual analog scale (VAS) ระยะเวลาในการเดิน 100 เมตร และ WOMAC index score ความปลอดภัยของการรักษา ประเมนิจากการตรวจร่างกาย ค่าทางห้องปฏิบัติการการทำงานของไตและตับ ผลการวิจัย: ยาทาพระเส้นมีประสิทธิผลในการลด อาการปวดของข้อเสื่อม ภายใน 14 วัน แต่อาการปวดของผู้ป่วยกลุ่ม YTS ที่วัดโดย VAS และ WOMAC index score ไม่แตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการใช้ยาครีมทาแก้ปวด (P<0.05) อย่างไรก็ตาม อาสาสมัครที่ใช้ยาทาพระเส้นมีระยะเวลาในการ เดิน 100 เมตรและการประเมินอาการโดยรวมดีกว่าผู้ป่วยที่ใช้ยาครีมทาแก้ปวด (P=0.027 และ <0.01 ตามลำดับ) ความ ปลอดภัยของยาทาพระเส้นและยาครีมทาแก้ปวดไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุป: ยาทาพระเส้นเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการใช้การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมปฐมภูมิ
ที่มา
วารสารเภสัชกรรมไทย ปี 2563, July-August
ปีที่: 12 ฉบับที่ 3 หน้า 880-890
คำสำคัญ
osteoarthritis, Thai traditional medicine, ข้อเข่าเสื่อม, Yataprasen, Osot-Pra-Na-Rai textbook, anti-inflammation, ยาทาพระเส้น, ยาแผนไทย, ตำราโอสถพระนารายณ์, การต้านการอักเสบ