เปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้ยาคอนจูเกตเอสโตรเจนและยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ในการรักษาภาวะเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดในสตรีที่ใช้ฮอร์โมนฝังใต้ผิวหนังการศึกษาแบบสุ่ม
สาลินี พลโยธา*, ฤทัยรัตน์ ตั้งมั่นสกุลชัย, ทุมวดี ตั้งศิริวัฒนาDepartment of Obstetrics and Gynecology, KhonKaen Hospital, KhonKaen 40000, Thailand; E-mail: [email protected]
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของการใช้ยาตอนจูเกตเอสโตรเจนและยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่เสตียรอยด์ในการควบคุมเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดในสตรีที่ใช้ฮอร์โมนฝั่งใต้ผิวหนัง
วัสดุและวิธีการ: สตรีที่ได้รับการวินิจฉัยเบื้องต้นว่ามีภาวะเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดหลังจากการใช้ฮอร์โมนฝังใต้ผิวหนังชนิดอีโทโนเจสเตรลช่วงเวลาระหว่างเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2565 ถึง เมษายน พ.ศ. 2566 ได้รับการสุ่มแบ่งเป็นสองกลุ่มกลุ่มศึกษาได้รับยาคอนจูเกตเอสโตรเจน (0.625 มก./แคปซูล) รับประทานครั้งละ 1 แคปซูลวันละ 2 ครั้ง หลังอาหารเช้า-เย็น เป็นระยะเวลา 5 วัน จำนวน 32 คน และกลุ่มควบคุมได้รับยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (250 มก./ แคปซูล) รับประทาน ครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 3 ครั้ง หลังอาหารเช้า-เที่ยง-เย็น เป็นระยะเวลา 5 วัน จำนวน 32 คน ทำการประเมินจำนวนวันที่เลือดออกจนหยุดหลังได้รับการรักษา
ผลการศึกษา: จำนวนวันที่เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดในสตรีที่ใช้ฮอร์โมนฝังใต้ผิวหนังชนิดอีโทโนเจสเตรลจนหยุดหลังได้รับการรักษาด้วยยาคอนจูเกตเอสโตรเจนน้อยกว่าการรักษาด้วยยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 5.9 ± 3.4 วัน และ 7.9 ± 3.9 วัน ตามลำดับ โดยค่าเฉลี่ยแตกต่างกัน 2.0 วัน (95%CI 0.01 ถึง 0.02, p < 0.05)
สรุป: กลุ่มยาคอนจูเกตเอสโตรเจนมีประสิทธิภาพในการลดจำนวนวันที่เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดในสตรีที่ใช้ฮอร์โมนฝังใต้ผิวหนังชนิดอีโทโนเจสเตรล
ที่มา
ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ปี 2567, July-August
ปีที่: 32 ฉบับที่ 4 หน้า 287-294
คำสำคัญ
Abnormal uterine bleeding, Mefenamic acid, Conjugated equine estrogen, hormonal subdermal implant, เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด, ฮอร์โมนฝังใต้ผิวหนัง, ยาคอนจูเกตเอสโตรเจน, ยาเมเฟนามิค แอซิด