การศึกษาเปรียบเทียบเจลสำหรับเครื่องอัลตราซาวด์และคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจที่ประดิษฐ์ขึ้นเองกับที่ซื้อมาใช้ในสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
ธนรัตน์ ลยางกูร, มานิตย์ เลิศชัยพร*, สมพัน กลั่นดีมา, อมรรัตน์ เพชรดำรงค์สกุล, อัญชลี เครือตราชู
Queen Sirikit National Institute of Child Health
บทคัดย่อ
ความเป็นมา: ในการตรวจคนไข้ด้วยเครื่องอัตราซาวด์และคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ จะต้องมีเจลเป็นตัวกลาง ช่วยลดการสะท้อนของคลื่นอัลตราซาวด์ที่เกิดจากช่องว่างอากาศระหว่างผิวหนังของผู้ป่วย และ Transducer เจลที่ใช้ในการตรวจคลื่นอัลตราซาวด์ส่วนมากจะสั่งซื้อจากต่างประเทศ ซึ่งมีราคาแพง สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ มหาราชินีได้มีการคิดค้นเจลอัลตราซาวด์ขึ้นใช้เอง โดยผู้จัดทำได้ศึกษาและนำมาปรับปรุง ด้วยเทคนิคและวิธีการต่างๆ เพื่อความสะดวกและประหยัดวิธีการศึกษา: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของเจลอัลตราซาวด์ที่ผลิตขึ้นใช้เอง เปรียบเทียบกับเจลอัลตราซาวด์ที่โรงพยาบาลสั่งซื้อมา โดยใช้กับผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคหัวใจ ซึ่งได้รับการรักษาที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มแบบ Block of four จำนวน 208 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่ใช้การตรวจ ด้วยเจลอัลตราซาวด์ที่ผลิตขึ้นเอง 104 คน และกลุ่มที่ตรวจด้วยเจลอัตราซาวด์ที่โรงพยาบาลสั่งซื้อมาจำนวน 104 คน และทำการศึกษาตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2552 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2552ผลการศึกษา: พบว่าเจลอัลตราซาวด์ที่ประดิษฐ์ขึ้นมีความเข้มข้นมากกว่าเจลอัลตราซาวด์ที่สั่งซื้อมา ทำให้ทำความสะอาดได้ยากกว่า แต่ไม่มีมลภาวะทางกลิ่น เช่นเดียวกับเจลอัลตราซาวด์ที่ซื้อมา เจลอัตราซาวด์ที่ผลิตขึ้นมีสหสัมพันธ์ทางบวกับผลการใช้เจลอัลตราซาวด์ที่โรงพยาบาลสั่งซื้อมา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (r = 0.833: p < 0.001) และให้ประสิทธิภาพของการตรวจใกล้เคียงกัน ในขณะที่เจลอัลตราซาวด์ที่ผลิตขึ้นมีต้นทุนการผลิตที่ถูกกว่าเจลอัลตราซาวด์ที่โรงพยาบาลสั่งซื้อมาสรุป: เจลอัตราซาวด์ที่ผลิตขึ้น สามารถใช้ทดแทนเจลอัลตราซาวด์ที่สั่งซื้อได้
ที่มา
กุมารเวชสาร ปี 2552, September-December ปีที่: 16 ฉบับที่ 3 หน้า 147-151