Femoral nerve block สามารถลดความต้องการยาแก้ปวดหลังการผ่าตัดกระดูกต้นขาหักได้หรือไม่
อริศรา เอี่ยมอรุณ, ขวัญกมล บุญศรารักษพงศ์, จิตราพร หงษ์สวัสดิ์, ปฐม ห์ลีละเมียร, มานี รักษาเกียรติศักดิ์*
Department of Anesthesiology, Siriraj Hospital, Mahidol University, Bangkok 10700 , Thailand
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อทำการศึกษาผลการระงับปวดหลัง การผ่าตัดของการฉีดยาที่เส้นประสาท femoral ในผู้ป่วยที่มีกระดูกต้นขาหักที่มารับการผ่าตัดวิธีการ: แบ่งผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัด ตั้งแต่ เดือนธันวาคม 2549 ถึง พฤษภาคม 2551 โดยการสุ่มเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 25 คน โดยกลุ่มที่ 1 ได้รับการทำ spinal block ด้วยยาชา 0.5% isobaric bupivacaine เพียงอย่างเดียว ส่วนกลุ่มที่ 2 ได้รับการทำ femoral nerve block ด้วยยาชา 0.33% bupivacaine จำนวน 30 มล. ร่วมกับการทำ spinal block โดยผู้ป่วยทุกรายได้รับยาแก้ปวดพาราเซตามอล 1 กรัม ทุก 6 ชั่วโมงและฉีด pethidine 50 มก. เข้ากล้าม ทุก 4 ชั่วโมง ถ้าได้ค่าความปวด ≥ 4 มีการประเมินค่าความปวดทุก 4 ชั่วโมง จนครบ 24 ชั่วโมง ผลการศึกษา: ผู้ป่วยส่วนใหญ่มารับการผ่าตัด hemiarthroplasty และ dynamic hip screw ไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มเกี่ยวกับลักษณะทั่วไปของผู้ป่วย ความปวดและปริมาณยาแก้ปวดที่ผู้ป่วยได้รับสรุป: การฉีดยาชาที่เส้นประสาท femoral เพียง 1 ครั้ง ก่อนการผ่าตัดไม่สามารถลดความต้องการยาแก้ปวดหลังการผ่าตัดกระดูกต้นขาหัก
ที่มา
วิสัญญีสาร ปี 2552, April-June ปีที่: 35 ฉบับที่ 2 หน้า 83-90
คำสำคัญ
Analgesia, Femoral nerve block, Fractured femur, กระดูกต้นขาหัก, การฉีดยาชาที่เส้นประสาท femoral, ผลการระงับปวด