ผลของการให้ Ketamine ในการรักษาอาการปวดกระเพาะปัสสาวะ (Bladder Discomfort) ของผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะหลังผ่าตัด Percutaneous Nephrolithotomy
Duangkae S, จรัสศรี อินทรสมหวัง, มณฑา ศิริกุลพิพัฒน์, วรรณศรี พรหมเนรมิต, Supaporn Tharahirunchot*
Department of Anesthesiology, Rajavithi Hospital, Bangkok 10400
บทคัดย่อ
บทนำ:  อาการปวดกระเพาะปัสสาวะจากการคาสายสวนปัสสาวะ เป็นปัญหาที่พบบ่อยในผู้ป่วยที่ฟื้นจากการระงับความรู้สึก ซึ่งบางครั้งเป็นปัญหาที่ให้การดูแลรักษาลำบาก การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้ ketamine ขนาดน้อยๆ  (sub-hypnotic dose) ในการรักษาอาการปวดกระเพาะปัสสาวะจากการคาสายสวนปัสสาวะในระยะหลังผ่าตัดวิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบ prospective randomized controlled study ในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัด percutaneous nephrolithotomy แบบไม่เร่งด่วน และมีอาการปวดกระเพาะปัสสาวะจากการคาสายสวนปัสสาวะ หลังผ่าตัด โดยแบ่งผู้ป่วยโดยวิธีสุ่มตัวอย่าง เป็นกลุ่มที่ได้รับ ketamine 250 มคก./กก. จำนวน 15 คน และกลุ่มที่ได้รับยาหลอก จำนวน 15 คน ประเมินระดับความรุนแรงของอาการปวดกระเพาะปัสสาวะ และผลข้างเคียงของยาที่เวลา 1, 2 และ 6 ชั่วโมง หลังได้รับยาผลการศึกษา: ระดับความรุนแรงของอาการปวดกระเพาะปัสสาวะ ระหว่างผู้ป่วยที่ได้รับ และไม่ได้รับ ketamine 250 มคก./กก. ที่เวลา 1, 2 และ 6 ชั่วโมง รวมทั้งอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ อาการง่วงซึม อาการคลื่นไส้ อาเจียน การมองเห็นภาพซ้อน ระหว่างผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติสรุป: การให้ ketamine 250 มคก./กก. ทางหลอดเลือดดำ ไม่สามารถระงับอาการปวดกระเพาะปัสสาวะหลังผ่าตัด percutaneous nephrolithotomy ที่เวลา 1, 2 และ 6 ชั่วโมงหลังได้รับยา
ที่มา
วิสัญญีสาร ปี 2552, January-March ปีที่: 35 ฉบับที่ 1 หน้า 26-32
คำสำคัญ
Ketamine, Catheter related bladder discomfort, ปวดกระเพาะปัสสาวะ