การดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว
Al Best, Jeanne Salyer, จันทร์ทิรา เจียรณัย*
Research&Development Department, Boromarajonani College of Nursing, Surin, Thailand; E-mail:Chantira123@hotmail.com
บทคัดย่อ
การดูแลตนเองเป็นสิ่งท้าทายความสามารถของผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว แม้ว่าสามารถทำนายได้ว่าผู้ป่วยที่มีความสามารถในการดูแลตนเองที่ดี จะมีคุณภาพชีวิตที่ดี อย่างไรก็ตามงานวิจัยที่สนับสนุนข้อสรุปนี้มีอยู่จำกัด จึงควรมีการทำวิจัยเพิ่มเติมเพื่อยืนยันข้อสรุปดังกล่าว ดังนั้น การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว ตลอดจนศึกษาอำนาจทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยแบบพรรณา ครั้งนี้มีจำนวน 98 คน การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จากผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวที่มาติดตามการรักษาที่ คลินิกหัวใจล้มเหลว ณ Virginia Commonwealth University Health System เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การ ส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ แบบสอบถามประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป, Charlson Co-morbidity Index, Medical Outcomes Study Social Support Survey, Self-Care of Heart Failure Index, Short-Form-12 Health Survey, และ Minnesota of Living with Heart Failure Questionnaire ผลการวิจัยพบว่า 1) self-care management, self-care self-confidence, สมรรถภาพการทำงานของหัวใจที่ดี และจำนวนโรคประจำตัวน้อย ทำนายคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว 2) สมรรถภาพการทำงานของหัวใจ, self-care maintenance, self-care self-confidence, และ self-care management ทำนายคุณภาพชีวิตด้านร่างกายที่ดีของผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว 3) สมรรถภาพการทำงานของหัวใจ และเพศชาย ทำนายคุณภาพชีวิตด้านจิตสังคมที่ดีของผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว
ที่มา
วารสารวิจัยทางการพยาบาล ปี 2552, October-December ปีที่: 13 ฉบับที่ 4 หน้า 302-317
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, SELF-CARE, การดูแลตนเอง, Heart faiure, หัวใจล้มเหลว