การทดสอบความปลอดภัยและภาวะภูมิคุ้มกันของวัคซีน HIV-1 Immunogen ในผู้ติดเชื้อ HIV : ศึกษาเฉพาะกรณีโรงพยาบาลศรีนครินทร์
กาญจนา ศิริสิทธิ์, ชวนชม สกลธวัฒน์*, ดวงเดือน วรสิงห์, นลัทพร แข็งฤทธิ์, ประสบสุข ศรีแสนปาง, วิสุทธิ์ สุขีไพศาลเจริญ, วีณา เชิดบุญชาติ, ศิริพร อินทรกำแหง, อธิษฐาน ชินสุวรรณ
Faculty of Medicine, Khon Kaen University, Khon Kaen 40002
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาถึงความปลอดภัยและการเปลี่ยนแปลงของภาวะภูมิคุ้มกันของร่างกายภายหลังได้รับวัคซีน HIV-1 Immunogen (Remune TM) รูปแบบการศึกษา: Randomized, double blind, adjuvant-controlled clinical trialกระบวนการวิจัย: เป็นการวิจัย cohort แรกของการทดสอบใน ระยะที่ 2 ในประเทศไทย โดยมีอาสาสมัครเป็นผู้ติดเชื้อ HIV ที่ยังไม่มีอาการและมี จำนวน CD4+ มากกว่า 300 cell/mm3 จำนวน 33 คน ได้รับวัคซีนจริงและวัคซีนหลอกในอัตราส่วน 2:1 ในสัปดาห์ที่ 1, สัปดาห์ 12, สัปดาห์ 24 และสัปดาห์ 36 ของการวิจัยผลการวิจัย: พบว่า ไม่พบอาการข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อนใดๆ ทั้งจากกลุ่มที่ได้รับวัคซีนและกลุ่มที่ได้รับวัคซีนหลอก น้ำหนักโดยเฉลี่ยของทั้งสองกลุ่มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จำนวนของ CD4+ ในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มที่ได้รับวัคซีนหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีผลต่อภาวะภูมิคุ้มกันเฉพาะที่ตรวจได้จาก HIV-1 DTH skin test และ Western blot ส่วนปริมาณของสำเนา HIV-RNA และสำเนา log RNA ลดลงทั้งสองกลุ่ม แต่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งอาจจะต้องใช้ระยะเวลาติดตามนานมากกว่านี้สรุป: ผลการศึกษาสามารถชี้แนะด้านความปลอดภัยและการเปลี่ยนแปลงภาวะภูมิคุ้มกันที่เป็นผลจากการได้วัคซีน HIV-1 Immunogen  ที่เป็นไปในทางที่ดีขึ้นสำหรับผู้ติดเชื้อ HIV ที่ยังไม่มียาตัวใดตัวหนึ่งเพียงอย่างเดียว (monotherapy) ในปัจจุบันที่รักษาได้ผล
ที่มา
ศรีนครินทร์เวชสาร ปี 2548, October-December ปีที่: 20 ฉบับที่ 4 หน้า 246-253
คำสำคัญ
body weight, HIV-1 Immunogen, IFA, immunogenicity