ผลกระทบของภาวะไอจามปัสสาวะเล็ด และภาวะกระเพาะปัสสาวะไวเกินต่อคุณภาพชีวิตของสตรีไทยที่มารับบริการ ที่คลินิกนรีเวชทางเดินปัสสาวะและอวัยวะสืบพันธุ์
รุจิรา วัฒนายิ่งเจริญชัย*, จิตติมา มโนนัย, นัทธ์หทัย วรรณทิม, ศิริรัตน์ สฤษดิ์อภิรักษ์, เจริญศรี อิ่มสมบูรณ์, อภิชาต จิตต์เจริญ, จิตติมา มโนนัย, นัทธ์หทัย วรรณทิม, รุจิรา วัฒนายิ่งเจริญชัย, ศิริรัตน์ สฤษดิ์อภิรักษ์, อภิชาต จิตต์เจริญ, เจริญศรี อิ่มสมบูรณ์
Department of Obstetrics and Gynecology, Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol Unversity, Bangkok 10400, Thailand
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลกระทบของภาวะไอจามปัสสาวะเล็ด และภาวะกระเพาะปัสสาวะไวเกิน ต่อคุณภาพชีวิตโดยใช้แบบสอบถามคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพที่มีความจำเพาะต่อโรค วัสดุและวิธีการ: ทำการศึกษาในสตรีที่มารับบริการคลินิกนรีเวชทางเดินปัสสาวะและอวัยวะสืบพันธุ์ โรงพยาบาลรามาธิบดีที่มีอาการของภาวะไอจามปัสสาวะเล็ด และ/หรือภาวะกระเพาะปัสสาวะไวเกิน จำนวน 319 ราย ทำการประเมินคุณภาพชีวิตโดยใช้แบบสอบถาม I-QOL และ IIQ-7 ฉบับภาษาไทย ผลการศึกษา: ในกลุ่มศึกษา 319 ราย แบ่งเป็นผู้ที่มีภาวะไอจามปัสสาวะเล็ด 55 ราย, ภาวะกระเพาะปัสสาวะไวเกิน 78 ราย, และทั้งสองภาวะร่วมกัน 186 ราย ไม่พบความแตกต่างของลักษณะประชากรทั้ง 3 กลุ่ม กลุ่มที่มีทั้งภาวะไอจามปัสสาวะเล็ดและภาวะกระเพาะปัสสาวะไวเกิน มีคะแนนในทุกด้านของแบบสอบถาม I-QOL ต่ำกว่า (มีผลกระทบมากกว่า) กลุ่มที่มีภาวะไอจามปัสสาวะเล็ดหรือภาวะกระเพาะปัสสาวะไวเกินอย่างเดียว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่จากการประเมินโดยใช้แบบสอบถาม IIQ-7 พบว่า กลุ่มที่มีทั้งภาวะไอจามปัสสาวะเล็ด และภาวะกระเพาะปัสสาวะไวเกิน มีคุณภาพชีวิตที่ด้อยกว่าในด้านสุขภาพทางอารมณ์เท่านั้น สรุป: ภาวะไอจามปัสสาวะเล็ด และภาวะกระเพาะปัสสาวะไวเกิน มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพอย่างมาก ซึ่งผลกระทบนี้จะพบมากขึ้นในผู้ที่มีภาวะไอจามปัสสาวะเล็ดร่วมกับภาวะกระเพาะปัสสาวะไวเกิน
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2550, January ปีที่: 90 ฉบับที่ 1 หน้า 26-31
คำสำคัญ
Overactive bladder, Quality of life, Stress urinary incontinence