เปรียบเทียบการทดสอบสุขภาพทารกในครรภ์ด้วยวิธีกระตุ้นทารกด้วยมือกับวิธี nonstress test: การทดลองควบคุมแบบสุ่ม
วีรวิทย์ ปิยะมงคล*, สมพงษ์ ตรึงธวัชชัย, พฤหัส จันทร์ประภาพ, ธีระ ทองสง, ธีระ ทองสง, พฤหัส จันทร์ประภาพ, วีรวิทย์ ปิยะมงคล, สมพงษ์ ตรึงธวัชชัย
Department of Obstetrics and Gynaecology, Faculty of Medicine, Chiang Mai University, 110 Intawaroros Rd, Sripoom, Mueang, Chiang Mai 50200, Thailand
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการกระตุ้นทารกในครรภ์ด้วยมือ (manual stimulation; MST) กับการทดสอบสุขภาพทารกในครรภ์วิธีมาตรฐาน nonstress test (NST) ในแง่ของอัตราการให้ผล nonreactive และเวลาที่ใช้ในการทดสอบ วัสดุและวิธีการ: ครรภ์เดี่ยวที่มีความเสี่ยงสูงและอายุ ครรภ์ 28 สัปดาห์ขึ้นไป ได้รับการแบ่งกลุ่มด้วยวิธีสุ่มแบบบล็อคให้ได้รับการทดสอบสุขภาพทารกในครรภ์ด้วยวิธี NST หรือ MST แถบบันทึกอัตราการเต้นของหัวใจทารก (FHR tracings) ได้รับการอ่านแปลผลตามเกณฑ์มาตรฐาน NST โดยแพทย์ด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกเพียงท่านเดียว ผลการศึกษา: จากการทดสอบทั้งหมด 540 การทดสอบ, กลุ่มละ 270 การทดสอบ พบว่า MST มีอัตรา reactive สูงกว่า NST อย่างมีนัยสำคัญ (98.9% และ 84.4% ตามลำดับ, p < 0.001 ) เวลาเฉลี่ยของการทดสอบในกลุ่ม MST สั้นกว่ากลุ่ม NST อย่างมีนัยสำคัญ (7.94 ± 6.27 นาที และ 13.91 ± 9.58 นาที ตามลำดับ, p <0.001) สรุป: การศึกษานี้นับเป็นการศึกษาแบบสุ่มครั้งแรกที่แสดงให้เห็นว่า MST ซึ่งเป็นเทคนิคอย่างง่ายและราคาถูก มีประโยชน์ในแง่ของการช่วยลดอัตราผลการทดสอบ nonreactive และลดเวลาของการทดสอบลงเมื่อเทียบกับวิธี NST มาตรฐาน
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2549, December ปีที่: 89 ฉบับที่ 12 หน้า 1999-2002
คำสำคัญ
Electronic fetal heart rate monitoring, Fetal surveillance, Fetal well being, Manual stimulation test, Nonstress test