ผลของโปรแกรมสร้างเสริมความสามารถของตนต่อการรับรู้การปฏิบัติตนและน้ำหนักตัวของนักเรียนวัยรุ่นหญิงที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์
สุกุมา เถาะสุวรรณ*, จรรจา สันตยากร, ชมนาด วรรณพรศิริ, ทวีศักดิ์ ศิริพรไพบูลย์
โรงพยาบาลหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์
บทคัดย่อ
 
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสร้างเสริมความสามารถของตนต่อการ
ปฏิบัติตน และน้ำหนักตัวของนักเรียนวัยรุ่นหญิงที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนช่วงชั้น
ที่ 3 โรงเรียนสังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549 ซึ่งมีน้ำหนัก
เกินมาตรฐาน ตามเกณฑ์ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 60 คน สุ่มเพื่อแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง
30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสร้างความสามารถของตนประกอบด้วย
1) ความสำเร็จในการกระทำ 2) การสังเกตตัวแบบ 3) การชักจูงด้วยคำพูด 4) สภาวะทางกายและอารมณ์
กลุ่มควบคุมได้รับคำแนะนำตามปกติ เครื่องมือวิจัย คือ แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับภาวะน้ำหนักเกิน
มาตรฐาน แบบสอบถามการรับรู้การปฏิบัติตน ด้านการบริโภค และด้านการออกกำลังกาย และโปรแกรม
การสร้างเสริมความสามารถของตน ผลการวิจัยพบว่า
1. ภายหลังการทดลองทันทีกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยของการรับรู้การปฏิบัติตนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ภายหลังการทดลองทันที และหลังการทดลอง 4 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของน้ำหนักตัวต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ภายหลังการทดลอง 4 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของน้ำหนักตัว ต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
 
ที่มา
วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปี 2550, January-June ปีที่: 1 ฉบับที่ 1 หน้า 32-46
คำสำคัญ
female adolescent, weight, Self – Efficacy Program, Self – practice, Over weight, โปรแกรมความสามารถของตน, น้ำหนักตัว, การปฏิบัติตน, นักเรียนวัยรุ่นหญิง, น้ำหนักเกิน