คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคหืดที่เป็นผู้ใหญ่
Preeyanut Sirimai*, จุฬาภรณ์ ลิมวัฒนานนท์, วัชรา บุญสวัสดิ์
Prachuabkirikhan Hospital, Pitakchart Road, Muang District, Prachuabkirikhan, 77000
บทคัดย่อ
 
                การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคหืด โดยคัดเลือกผู้ป่วยโรคหืดที่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลหรือสถานีอนามัยในเขตอำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) จำนวน 61 ราย ทำการเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงกุมภาพันธ์ 2548 โดยใช้แบบสอบถามคุณภาพชีวิต  Short-Form 36-Items Health Survey ของ The Medical Outcomes Study (MOS) ฉบับภาษาไทย และวัดระดับความรุนแรงของโรคตามแนวทางของสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย พบว่าในผู้ป่วยที่มีระดับความรุนแรงของโรคต่างกัน คุณภาพชีวิตมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติใน 4 มิติ ได้แก่ physical functioning (p = 0.01), general health (p=0.02), mental health (p < 0.01) และ reported health transition (p < 0.01) เมื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาพ่นสเตียรอยด์ จำนวน 35 คนกับผู้ป่วยที่ได้รับยากลุ่มอื่นในการรักษาจำนวน 26 คน โดยควบคุมตัวแปรอื่นๆ ได้แก่ ระดับความรุนแรงของโรคหืด อายุ เพศ การเป็นโรคอื่นร่วมด้วยและระยะเวลาในการเป็นโรค พบว่าผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับยาพ่นสเตียรอยด์มีคะแนนคุณภาพชีวิตในมิติ physical functioning และ role physical มากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับยาพ่นสเตียรอยด์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.02 ทั้ง 2 มิติ) ดังนั้นผู้ป่วยโรคหืดชนิดเรื้อรังควรได้รับการรักษาที่เหมาะสม โดยพิจารณาการใช้ยาพ่นสเตียรอยด์ร่วมด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้โรคมีความรุนแรงมากขึ้น
 
ที่มา
วารสารแพทย์เขต 6-7 ปี 2550, January-March ปีที่: 26 ฉบับที่ 1 หน้า 81-91
คำสำคัญ
Quality of life, SF-36, คุณภาพชีวิต, Inhaled Corticosteroids, ยาพ่นสเตียรอยด์, Asthma, โรคหืด, แบบสอบถาม SF-36