เปรียบเทียบวิธีการพ่นยาขยายหลอดลม salbutamol ด้วยวิธีการพ่นแบบ intermittently operated nebulizer (IN) และ continuous operated nebulizer (CN)
กรีฑา ธรรมคำภีร์, นิธิมา เชาวลิต, ปราณี มีความไว
Department of Internal Medicine, Faculty of Medicine, Prince of Songkhla University
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบฤทธิ์การขยายหลอดลมของยา salbutamol โดยอาศัยวิธีการพ่นแบบ intermittently operated nebulizer เทียบกับการพ่นยา continuous operated nebulizerวิธีการศึกษา:  เป็นการศึกษาแบบ randomized single-blind cross over study ผู้ป่วยที่นำมาศึกษาเป็นโรคหืดที่มีอาการน้อยถึงปานกลาง ผู้ป่วยทุกรายได้รับการตรวจสมรรถภาพปอดเป็นพื้นฐานในวันแรก ในวันที่ 2 และ 3 ผู้ป่วยจะได้รับยาแบบสุ่มเลือกให้พ่นยาแบบ IN หรือ CN ยาที่ให้เป็น salbutamol ขนาด 5 มก. ทำการตรวจสมรรถภาพทางปอดหลังพ่นยา 15, 30, 60 และ 120 นาที และวัดอัตราการเต้นของหัวใจก่อนและหลังพ่นยาผลการศึกษา: พบว่าหลังพ่นยาขยายหลอดลม จะมีการเพิ่มขึ้นของค่า force expiratory volume in 1 second (FEV1) ที่เวลา 15, 30, 60 และ 120 นาที ด้วยวิธีพ่นยาแบบ CN คิดเป็นร้อยละ 33.0, 35.8, 32.9 และ 31.2 ตามลำดับ สำหรับวิธีพ่นแบบ IN มีค่า FEV1 เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.2, 28.0, 26.5 และ 22.7 ตามลำดับ FEV1 ที่เพิ่มขึ้นด้วย วิธีการพ่นยาทั้งสองไม่มีความแตกต่างทางสถิติ อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นเล็กน้อยหลังพ่นยาไม่มีความแตกต่างทางสถิติสรุป: การพ่นยาขยายหลอดลม salbutamol ด้วยวิธีการพ่น IN ไม่ได้มีผลดีกว่าการพ่นยาแบบ CN
ที่มา
วารสารวัณโรค โรคทรวงอกและเวชบำบัดวิกฤต ปี 2547, เมษายน-มิถุนายน ปีที่: 25 ฉบับที่ 2 หน้า 103-108