ผลของการกระตุ้นกล้ามเนื้อเหยียดเข่าด้วยไฟฟ้าในผู้ที่มีภาวะสมองพิการประเภทขาเกร็งมากกว่าแขน
จงจินตน์ รัตนาภินันท์ชัย, นวลลออ ธวินชัย*, พนิดา หาญพิทักษ์พงศ์
Department of Physical Therapy, Faculty of Associated Medical Sciences, Chiang Mai University, Chiang Mai 50200 THAILAND, Email: nuanlaor.thawinchai@cmu.ac.th
บทคัดย่อ
 
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการกระตุ้นกล้ามเนื้อเหยียดเข่าด้วยไฟฟ้าต่อความแข็งแรง ช่วงการเคลื่อนไหว และการเกร็งของกล้ามเนื้อในผู้ที่มีภาวะสมองพิการประเภทขาเกร็งมากกว่าแขน
วิธีการศึกษา: อาสาสมัครที่มีภาวะสมองพิการประเภทขาเกร็งมากกว่าแขน จานวน 18 คน (อายุระหว่าง 7 ถึง 19 ปี) ที่มีลักษณะเข่างอทั้งสองข้างในขณะยืนและเดิน ถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยพิจารณาจากอายุ ระดับความสามารถในการเคลื่อนไหว ร่วมกับตัวแปรที่ทาการศึกษาทั้งหมด ได้แก่ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเหยียดเข่า ภาวะเข่าหย่อน (quadriceps lag) มุมข้อสะโพก ข้อเข่าและข้อเท้าในท่ายืน และระดับการเกร็งของกล้ามเนื้อเหยียดและงอเข่า (ประเมินโดย Modified Ashworth Scale; MAS) แต่ละกลุ่มจะถูกสุ่มให้เงื่อนไขกลุ่มแรกเป็นกลุ่มควบคุม ซึ่งได้ รับเพียงการยืดกล้ามเนื้อกลุ่มงอเข่า กางสะโพกและเหยียดสะโพก กลุ่มที่สองได้รับการกระตุ้นกล้ามเนื้อเหยียดเข่า 2 ข้าง ด้วยเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า 3 วัน/สัปดาห์ นาน 7 สัปดาห์และได้รับการยืดกล้ามเนื้อ เช่นเดียวกับกลุ่มควบคุม โดยประเมินตัวแปร 3 ครั้ง คือ ก่อนการกระตุ้นกล้ามเนื้อสิ้นสุดการกระตุ้นกล้ามเนื้อและหลังสิ้นสุดการกระตุ้นกล้ามเนื้อแล้ว 2 สัปดาห์ ใช้สถิติ Repeated measures analysis of variance (ANOVA) ทดสอบตัวแปรการเปลี่ยนแปลงความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเหยียดเข่า (%)และภาวะเข่าหย่อน (องศา) หากพบว่ามีความสำคัญทางสถิติ ใช้สถิติ independent t-test และ dependent t-test (โดยวิธี Bonferroni correction) ทดสอบหาความแตกต่างระหว่างกลุ่มในแต่ละช่วงเวลาและความแตกต่างระหว่างช่วงเวลาในแต่ละกลุ่ม สาหรับตัวแปรมุมข้อสะโพก ข้อเข่าและข้อเท้าในท่ายืน (องศา) พบการกระจายตัวของข้อมูลเป็นแบบไม่ปกติ และตัวแปรระดับการเกร็งของกล้ามเนื้อ เหยียดและงอเข่า มีลักษณะการวัดแบบระดับอันดับ ใช้สถิติ Non-parametric Mann-Whitney U test และ Friedman test ทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มในแต่ละช่วงเวลาและความแตกต่างระหว่างช่วงเวลาในแต่ละกลุ่ม
ผลการศึกษา: เมื่อสิ้นสุดการกระตุ้นกล้ามเนื้อ พบว่ามีเพียงกลุ่มที่ได้รับการกระตุ้นกล้ามเนื้อ มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเหยียดเข่าเพิ่มขึ้น 25.65 ± 3.57% (p<0.008) มีภาวะเข่าหย่อนลดลงประมาณ 4.7 องศา (p<0.008) และมีระดับการเกร็งของกล้ามเนื้อ เหยียดเข่าลดลงจาก MAS เท่ากับ 2 เป็น 1 (p<0.05) อย่างไรก็ตาม หลังสิ้นสุดการกระตุ้นกล้ามเนื้อแล้ว 2 สัปดาห์ พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มสาหรับทุกตัวแปร
สรุปผลการศึกษา: การกระตุ้นกล้ามเนื้อเหยียดเข่าด้วยไฟฟ้าสามารถเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเหยียดเข่า ลดภาวะเข่าหย่อนและลดการเกร็งของกล้ามเนื้อเหยียดเข่าในผู้ที่มีภาวะสมอง พิการประเภทขาเกร็งมากกว่าแขน อย่างไรก็ตามไม่พบการเพิ่มขึ้นของมุมข้อสะโพก ข้อเข่าและข้อเท้าในท่ายืน
 
ที่มา
วารสารกายภาพบำบัด ปี 2554, May-August ปีที่: 33 ฉบับที่ 2 หน้า 53-67
คำสำคัญ
Spasticity, Electrical stimulation, Spastic diplegia, Neuromuscular, NMES, Quadriceps strength, Range of motion