ผลของการกระตุ้นกล้ามเนื้อเหยียดเข่าด้วยไฟฟ้าร่วมกับการหดตัวแบบไอโซเมตริกในผู้ที่มีภาวะสมองพิการประเภทขาเกร็งมากกว่าแขน
กนกอร นุ่มดี, นวลลออ ธวินชัย*, จงจินตน์ รัตนาภินันท์ชัย
Department of Physical Therapy, Faculty of Associated Medical Sciences, Chiang Mai University, Chiang Mai 50200 THAILAND, Email: nuanlaor.thawinchai@cmu.ac.th
บทคัดย่อ
 
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระหว่างการออกกาลังกายแบบไอโซเมตริกเพียงอย่างเดียวกับการออกกาลังกายแบบไอโซเมตริกร่วมกับการกระตุ้นกล้ามเนื้อเหยียดเข่าด้วยไฟฟ้าในผู้ที่มีภาวะสมองพิการประเภทขาเกร็งมากกว่าแขน อายุระหว่าง 9-21 ปี อาสาสมัครทั้ง 16 คน ได้รับการแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 8 คน โดยพิจารณาจากอายุ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเหยียดเข่า และระดับการเกร็งของกล้ามเนื้อเหยียดและงอเข่า หลังจากนั้นถูกสุ่มให้เงื่อนไข โดยกลุ่มแรกคือกลุ่มศึกษาที่ได้รับการกระตุ้นกล้ามเนื้อเหยียดเข่าด้วยไฟฟ้าร่วมกับการออกกาลังกายแบบไอโซเมตริก (exercise+NMES group) และกลุ่มควบคุม ที่ได้รับการออกกาลังกายแบบไอโซเมตริกเพียงอย่างเดียว ทั้งสองกลุ่มได้รับการฝึกประมาณ 30 นาที/ครั้ง เป็นเวลา 3 วัน/สัปดาห์ ทั้งหมด 7 สัปดาห์ โดยประเมินตัวแปร 3 ครั้ง คือ ก่อน สิ้นสุดและหลังสิ้น สุดการออกกาลังกายแล้ว 2 สัปดาห์ สถิติ Repeated measures analysis of variance (ANOVA) ใช้ทดสอบตัวแปรความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เหยียดเข่า หากพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สถิติ dependent t-test ได้ถูกนามาใช้เพื่อทดสอบหาความแตกต่างระหว่างเวลาการประเมินในแต่ละกลุ่ม สาหรับสถิติ Friedman test, Wilcoxon Signed-ranks test and Mann-Whitney U test ใช้ทดสอบระดับการเกร็งของกล้ามเนื้อเหยียดและงอเข่า โดยมีระดับนัยสำคัญทางสถิตที่ p < 0.05 ผลการศึกษา พบว่า QMVIC ของทั้ง สองกลุ่มเพิ่มขึ้น  เมื่อสิ้นสุดการออกกาลังกายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.008) เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการออกกาลังกายและลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.008) เมื่อเปรียบเทียบ กับหลังสิ้นสุดการออกกาลังกายแล้ว 2 สัปดาห์ นอกจากนี้ยังพบว่า มีเพียงแค่กลุ่มศึกษาเท่านั้นที่ QMVIC หลังสิ้นสุดการออกกาลังกายแล้ว 2 สัปดาห์ มากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการออกกาลังกาย (p < 0.008) สาหรับการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม พบว่าไม่มีความอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่ม (p = 0.54) นอกจากนี้ยังพบว่า กลุ่มศึกษามีความตึงตัวของกล้ามเนื้อเหยียดเข่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อสิ้นสุดการออกกาลังกาย (p = 0.01) เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการออกกาลังกาย และพบว่ากลุ่มศึกษามีความตึงตัวของกล้ามเนื้อเหยียดเข่าแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมเมื่อสิ้นสุดการอออกกาลังกาย (p = 0.04) แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของความตึงตัวของกล้ามเนื้องอเข่าสรุปผลการศึกษาได้ว่าโปรแกรมการออกกาลังกายทั้งสองแบบมีประโยชน์สาหรับผู้ที่มีภาวะสมองพิการประเภทขาเกร็งมากกว่าแขน โดยช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเหยียดเข่า และในกลุ่มการออกกาลังกายแบบไอโซเมตริกร่วมกับการกระตุ้นกล้ามเนื้อด้วยไฟฟ้ายังสามารถลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อเหยียดเข่าได้ด้วย
 
ที่มา
วารสารกายภาพบำบัด ปี 2554, May-August ปีที่: 33 ฉบับที่ 2 หน้า 68-77
คำสำคัญ
Spasticity, Electrical stimulation, Spastic diplegia, Quadriceps strength, Isometric exercise