การศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจในโรงพยาบาลรามาธิบดี
กรกกาญจน์ กอบกิจสุมงคล*, เพิ่มสุข เอื้ออารี, นพวรรณ แสนเจริญสุทธิกุล, วิศาล คันธารัตนกุล
Cardiac rehabilitation nurse, Faculty of Ramathibodi Hospital medicine, Mahidol University
บทคัดย่อ
 
                การวิจัยเชิงพรรณนาชนิดการศึกษาข้อมูลย้อนหลัง (Retrospective descriptive study) เพื่อศึกษาถึงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยก่อน และทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ และผ่านการติดตามผลการรักษาครบ 3 ครั้ง ภายใน 1 ปี โดยใช้แบบสอบถามคุณภาพชีวิต (SF-36) ฉบับภาษาไทยระหว่างมกราคม 2542 ถึงธันวาคม 2545 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 20 ราย ที่มารับการรักษาที่หน่วยเวชศาสตร์ฟื้นฟูโรคหัวใจ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี เป็นเพศชาย 15 ราย เพศหญิง 5 ราย อายุระหว่าง 47-77 ปี อายุเฉลี่ย 60.05±9.61 ปี ผลการศึกษาพบว่าการประเมินคุณภาพชีวิตโดยใช้แบบสอบถามคุณภาพชีวิต (SF-36) ฉบับภาษาไทย มีคะแนนดีขึ้นในด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต และมีความสัมพันธ์กับจำนวนครั้งของการติดตามผลการรักษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) ยกเว้นตัวชี้วัดความเจ็บปวดทางกายในระยะแรกหลังผ่าตัดเท่านั้น
                ข้อเสนอแนะ: ผลการวิจัยนี้สามารถนำเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาระบบบริการในการส่งเสริมการดูแลต่อเนื่องเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจ
 
ที่มา
วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก ปี 2552, January-June ปีที่: 20 ฉบับที่ 1 หน้า 46-56
คำสำคัญ
Cardiac rehabilitation, Coronary Artery Bypass Graft (CABG), Valvular Replacement Surgery, Quality of Life SF-36, การทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ, การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ, แบบสอบถามคุณภาพชีวิต (SF-36), เวชศาสตร์ฟื้นฟูหัวใจ