การศึกษาขนาดยาที่เหมาะสมในการระงับปวดภายหลังการผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียมโดยวิธีบริหารยาชาเฉพาะที่ 0.0625% Bupivacaine ร่วมกับยาระงับปวด Fentanyl ทางช่องเหนือดูราอย่างต่อเนื่อง
บุษกร วังพยนต์*, วัชรพงศ์ มีพรสวรรค์, วิทยา ประทินทอง, สุชัย อนันตวณิชกิจ
กลุ่มงานวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลพิจิตร
บทคัดย่อ
 
 การระงับปวดหลังผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียม ด้วยวิธีให้ยาทางช่องเหนือดูราอย่างต่อเนื่อง (continuous epidural analgesia, CEA) โดยบริหารยาชาเฉพาะที่ร่วมกับยาระงับปวดกลุ่ม opioids นั้น พบว่าให้ผลระงับปวดที่ดี ในงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการศึกษาขนาดของยาชาเฉพาะที่ 0.0625% bupivacaine ร่วมกับยาระงับปวด fentanyl เพื่อให้ได้ผลการระงับปวดที่ดีที่สุดโดยมีผลข้างเคียงน้อยที่สุด ในผู้ป่วยซึ่งเข้ารับการผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียม ที่โรงพยาบาลพิจิตร ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2551 – 2552 จานวน 36 คน ถูกสุ่มแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 12 คน คือ กลุ่ม A, B และ C จากนั้นผู้ป่วยทุกคนจะได้รับการระงับความรู้สึกโดยวิธี combined spino – epidural anesthesia (CSE) คือการให้ยาทางช่องไขสันหลัง (spinal anesthesia) ด้วยยาชาเฉพาะที่ 0.5% heavy marcaine 3.2 มิลลิลิตร เพื่อการผ่าตัด ร่วมกับเริ่มให้การระงับปวดหลังผ่าตัดทางช่องเหนือดูรา (epidural analgesia) หลังชั่วโมงที่ 2 ของการผ่าตัด ด้วยยาชาเฉพาะที่ 0.0625% bupivacaine ร่วมกับยาระงับปวด fentanyl 1 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร โดยแต่ละกลุ่มมีการบริหารยาดังนี้ กลุ่ม A ให้ยาปริมาณ 10 มิลลิลิตรต่อชั่วโมง, กลุ่ม B 15 มิลลิลิตรต่อชั่วโมงและกลุ่ม C 20 มิลลิลิตรต่อชั่วโมง ผลการระงับปวดถูกประเมินด้วยระยะเวลาครั้งแรกที่ผู้ป่วยต้องการยาระงับปวดเสริมหลังผ่าตัด (analgesic time) และการให้คะแนนระดับความปวด (VAS) นับจากผู้ป่วยถึงห้องพักฟื้น หลังผ่าตัดชั่วโมงที่ 6, 12, 24 และ 48 ชั่วโมงที่ตึกผู้ป่วย รวมถึงประเมินผลข้างเคียงของยาทั้งสองกลุ่มคือ ระดับความรู้สึกตัวของผู้ป่วย การชาและการเคลื่อนไหวของขาสองข้าง, ภาวะความดันโลหิตต่า, อาการอาเจียน และอาการคัน ผลการวิจัยพบว่า ระยะเวลาครั้งแรกที่ผู้ป่วยต้องการยาระงับปวดเสริมหลังผ่าตัด ในกลุ่ม A, B และ C คือ 270.0 ± 18.6 นาที, 684.7 ± 412.4 นาที และ 721.7 ± 456.4 นาที ตามลาดับ ในกลุ่ม B และ C แสดงผลการระงับปวดได้ดีกว่า กลุ่ม A อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (P = 0.07) และคะแนนระดับความปวดในกลุ่ม B และ C ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติเช่นกัน ในกลุ่ม C พบผู้ป่วย 2 คนที่มีภาวะความดันโลหิตต่า และอีก 1 คนที่มีอาการอาเจียน ผลสรุปในงานวิจัยนี้คือ ขนาดยาที่เหมาะสมสาหรับการระงับปวดหลังผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียมทางช่องเหนือดูราอย่างต่อเนื่อง โดยบริหารยาชาเฉพาะที่ 0.0625% bupivacaine ร่วมกับยาระงับปวด fentanyl 1 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร คือ 15 มิลลิลิตรต่อชั่วโมง
 
ที่มา
วารสารโรงพยาบาลพิจิตร ปี 2551, April-September ปีที่: 24 ฉบับที่ 2 หน้า 10-20
คำสำคัญ
Fentanyl, Total Knee Arthroplasty (TKA), bupivaine, continuous epidural analgesia (CEA), การระงับปวดโดยวิธีบริหารยาทางช่องเหนือดูราอย่างต่อเนื่อง, การผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียม