ประสิทธิผลของโปรแกรมการจัดการการกับอาการ ต่ออาการและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมซิสติสคารินิไอ
สุรีพร ธนศิลป์*, ดรุณี รุจกรกานต์, สมจิต หนุเจริญกุล, จริยาวัตร คมพยัคฆ์
คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทคัดย่อ
                การวิจัยเชิงทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินผลของโปรแกรมการจัดการกับอาการต่ออาการและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมซิสติส คารินิโอ โดยโปรแกรมได้พัฒนาขึ้นภายใต้โมเดลการจัดการกับอาการและแนวคิดการจัดการด้วยตนเอง เป็นโปรแกรมที่เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง และให้การพยายามอย่างต่อเนื่องจากโรงพยาบาลสู่บ้าน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมซิสติส คารินิโอ ทั้งชายและหญิง จากโรงพยาบาลนครปฐม จำนวน 40 ราย ซึ่งได้รับการสุ่มแบบง่ายเพื่อเข้ากลุ่มทดลองและควบคุม กลุ่มละ 20 ราย กลุ่มทดลองได้รับการพยาบาลตามปกติร่วมกับโปรแกรมการจัดการกับอาการที่ประกอบด้วย 4 ระยะ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ทำการวัดประสิทธิผลของโปรแกรมด้วยแบบวัดอาการและแบบวัดคุณภาพชีวิตก่อนเข้าร่วมโครง และภายหลังเข้าร่วมโครงการ เป็นเวลาหนึ่งเดือน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนของอาการภายหลังเข้าโครงการต่ำกว่ากลุ่มควบคุม และมีคะแนนของคุณภาพชีวิตภายหลังเข้าโครงการสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 นั่นคือ โปรแกรมการจัดการกับอาการสามารถลดความรุนแรงของอาการปอดอักเสบ และเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมซิสติส คารินิโอ การนำโปรแกรมนี้ไปใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลนั้น ควรคำนึงถึงการจัดตั้งศูนย์การดูแลตนเอง และการพัฒนาศักยภาพของพยาบาลให้มีความชำนาญในการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังและผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์
 
ที่มา
วารสารวิจัยทางการพยาบาล ปี 2545, April - June ปีที่: 6 ฉบับที่ 2 หน้า 1-10
คำสำคัญ
Quality of life, self-symptom management ability, symptom status, Pneumocystis Carinii Pneumonia (PCP), ผู้ป่วยปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมซิสติส คารินิโอ, การ