การปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวผู้ป่วยจิตเวชเปรียบเทียบกับครอบครัวทั่วไป
อุมาพร ตรังสมบัติ
Department of Psychiatry, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University, Rama IV Rd, Bangkok 10330, Thailand. Phone: 0-2256-5176, E-mail:familyinthai@yahoo.com
บทคัดย่อ
วัตถุ ประสงค์: เพื่อศึกษาการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวในครอบครัวของผู้ป่วยที่เป็นโรคทางจิตเวชวัสดุและวิธีการ: ทำการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มครอบครัวผู้ป่วยจิตเวชและกลุ่มครอบครัวที่ไม่เคยมี สมาชิกป่วยทางจิตเวช จำนวนกลุ่มละ 60 ครอบครัว เครื่องมือที่ใช้คือ เครื่องมือสัมภาษณ์ แบบ semi-structure เพื่อประเมินการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวและเครื่องมือ Chulalongkorn Family Inventory (CFI) ซึ่งเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นต่อการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวผลการศึกษา: จากการสัมภาษณ์พบว่า ครอบครัวผู้ป่วยทางจิตเวชร้อยละ 83.3 และครอบครัวที่ เป็นกลุ่มควบคุมร้อยละ 45 มีการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวบกพร่องอย่างน้อยหนึ่งด้าน ความแตกต่างนี้มีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) จำนวนด้านที่ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องโดยเฉลี่ยในกลุ่มผู้ป่วยสูงกว่าในกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ คือ 3.5 ± 1.9 ด้านเปรียบเทียบกับ 0.98 ± 1.5 ด้านตามลำดับและ p < 0.0001 คะแนน CFI ในกลุ่มผู้ป่วยต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งแปลว่าครอบครัวผู้ป่วยมีการปฏิบัติหน้าที่ไม่ดี ด้านที่พบว่ามีการปฏิบัติหน้าที่บกพร่องในอัตราสูง คือ การแก้ปัญหา การสื่อสาร การตอบสนองทางอารมณ์ ความผูกพันทางอารมณ์ และการควบคุมพฤติกรรมนอกจากนี้ยังพบว่า ครอบครัวผู้ป่วยมีปัจจัยเครียดทางจิตสังคมสูงกว่ากลุ่มควบคุมคือร้อยละ 88.3 เปรียบเทียบกับร้อยละ 56.7 และจำนวนปัจจัยเครียดโดยเฉลี่ยก็สูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญ คือ 4.2 ± 2.7 ปัจจัยเปรียบเทียบกับ 1.3 ± 1.47 ปัจจัย (p < 0.0001)สรุป: ครอบครัวของผู้ป่วยจิตเวชมีการปฏิบัติหน้าที่บกพร่องกว่าครอบครัวทั่วไป ผลการศึกษานี้ชี้ว่า การประเมินครอบครัวและการบำบัดครอบครัวเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในการดูแลผู้ป่วยทางจิตเวช
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2549, November ปีที่: 89 ฉบับที่ 11 หน้า 1946-1953
คำสำคัญ
assessment, Family, functioning, Patients, Psychiatric