ประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยตามแนวทางเวชปฏิบัติต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง: กรณีศึกษาโรงพยาบาลทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี
อันวาร์ เบ็ญอิสมาแอล*, กรรณิกา เรืองเดช, อภิรดี แซ่ลิ้ม, ไพบูลย์ ชาวสวนศรีเจริญ
โรงพยาบาลทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี
บทคัดย่อ
               การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยตามแนวทางเวชปฏิบัติต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มารบการรักษาที่คลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ของโรงพยาบาลทุ่งยางแดง จำนวน 40 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคม กลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยตามแนวทางเวชปฏิบัติ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลผู้ป่วยตามแนวทางปกติที่เคยปฏิบัติของโรงพยาบาล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยตามแนวทางเวชปฏิบัติซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นตามแบบจำลอง PRECEDE Framework แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพใช้แบบลีลาชีวิตในการส่งเสริมสุขภาพ (HPLP II) และแบบสัมภาษณ์คุณภาพชีวิตใช้แบบวัดภาวะสุขภาพทั่วไป (SF-36) ภายหลังการทดลอง 12 สัปดาห์ ผลการวิจัยพบว่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกันทางสถิติ ขณะที่คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของกลุ่มทดลองหลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตของกลุ่มทดลองหลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เช่นเดียวกัน ทั้งนี้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต้องใช้ระยะเวลานานพอสมควร ดังนั้นจึงควรนำโปรแกรมไปทดลองใช้กับผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังต่อไปอีกระยะหนึ่ง และทำการประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
A
 
ที่มา
วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข ปี 2554, July-December ปีที่: 21 ฉบับที่ 2 หน้า 39-49
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, คุณภาพชี่วิต, Medical Care Program, Health Promotion Behaviors, COPD patient, การดูแลตามแนวทางปฏิบัติ, พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ