ผลของการนวดกดจุดสะท้อนที่เท้า ต่อเวลาในระยะที่ 1 ของการคลอดในผู้คลอดครรภ์แรก
นิภาพรรณ มณีโชติวงศ์*, ปราณี ธีรโสภณ, สมจิตร เมืองพิล
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 6 ขอนแก่น
บทคัดย่อ
                การวิจัยเชิงทดลองชนิดสุ่มแบบมีกลุ่มเปรียบเทียบ (RCT) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการนวดกดจุดสะท้อนที่เท้า ต่อเวลาในระยะที่ 1 ของการคลอด ในผู้คลอดครรภ์แรก สุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 ราย โดยกลุ่มทดลองได้การนวดกดจุดสะท้อนที่เท้าทั้ง 2 ข้างๆ ละ 15 นาที กลุ่มควบคุมได้รับการนวดหลอกแบบสัมผัสที่เท้าทั้ง 2 ข้างๆ ละ 15 นาที ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยเวลาในระยะที่ 1 ของการคลอด 679.00 นาที (±308.28) แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ( t-test = -1.182; p-value = .242) และกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยเวลาในระยะปากมดลูกเปิดเร็ว 138.83 นาที (± 45.56) ใช้เวลาน้อยกว่ากลุ่มควบคุม ที่มีค่าเฉลี่ยเวลาในระยะปากมดลูกเปิดเร็ว 256.73 นาที (±67.93) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t-test = -7895; p-value = .001) ส่วนชนิดของการคลอดของทั้ง 2 กลุ่มไม่แตกต่างกัน และไม่พบภาวะแทรกซ้อนทั้งต่อมารดา และทารกในกลุ่มทดลอง ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการนวดกดจุดสะท้อนที่เท้า สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดูแลเพื่อลดเวลาในระยะที่ 1 ของการคลอด ได้อย่างปลอดภัย
 
 
 
ที่มา
วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ ปี 2555, July- September ปีที่: 35 ฉบับที่ 3 หน้า 10-18
คำสำคัญ
ผู้คลอดครรภ์แรก, foot refl exology, fi rst stage of labor, primiparous, การนวดกดจุดสะท้อนที่เท้า, ระยะที่1 ของการคลอด