การวิเคราะห์ต้นทุนอรรถประโยชน์และภาระทางเศรษฐศาสตร์ของการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมโดยการวิเคราะห์จากข้อมูลจากเวชปฏิบัติ
ปวริศ สังขันธ์, Rungsee Wongbunnak, Ukrit Chaweewannakorn, ธนา ธุระเจน*, วิโรจน์ ลาภไพบูลย์พงศ์
Department of Orthopedic Surgery, Police General Hospital, Bangkok, Thailand. [email protected]
บทคัดย่อ
ภูมิหลัง: ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมสูงอายุที่รักษาด้วยวิธีการรักษาแบบดั้งเดิมไม่ได้ผลมักได้รับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเพื่อบรรเทาอาการปวด และเพิ่มความสามารถในการทำงานของข้อเข่าในปัจจุบัน ด้านการอักเสบเพื่อรักษาข้อเสื่อมเป็นที่ยอมรับในเวชปฏิบัติ เนื่องจากมีผลการศึกษาถึงผลกระทบ อย่างกว้างขวาง ในต่อระบบทางเดินอาหารและหลอดเลือดแต่ยังไม่มีการศึกษาถึงผลกระทบต่อการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยยาต้านการอักเสบในระยะยาว ซึ่งอาจนำไปสู่การผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วยเหล่านี้สูงขึ้น และอาจจะเป็นปัญหาทางเศรษฐกิจที่ต้องพิจารณา
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาต้นทุนอรรถประโยชน์และภาระทางเศรษฐศาสตร์ของการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยยาต้านการอักเสบชนิดไม่จำเพาะเทียบกับยาต้านการอักเสบชนิดออกฤทธิ์จำเพาะเจาะจง
วัสดุและวิธีการ: การศึกษานี้เป็นการวิเคราะห์ต้นทุนต่ออรรถประโยชน์ต่อการรักษาโดยพิจารณาภายใต้มุมของสถานพยาบาลและพิจารณาเฉพาะค่ารักษาพยาบาลทางตรงที่เกิดขึ้น เก็บข้อมูลโดยรูปแบบการศึกษา แบบสังเกตทิศทางแบบไปข้างหน้าของผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมที่รักษาด้วยยาต้านการอักเสบในระหว่างปี เดือนมิถุนายน พ.ศ.2553 ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ.2554 โดยเก็บข้อมูลของผู้ป่วยที่ได้รับด้วยยาต้านการอักเสบ สำหรับข้อเข่าเสื่อม โดยสามารถแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มที่หนึ่งรักษาด้วยยาซีรีค๊อกซิบและกลุ่มที่สองรักษาด้วยยาต้านการอักเสบแบบมาตรฐาน และติดตามการรักษา 6 เดือน โดยเก็บข้อมูลค่าใช้จ่ายและคุณภาพชีวิต รวมถึงผลการรักษา ที่เกี่ยวข้องอื่น เช่นผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหาร
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยจำนวน 939 ราย ที่ได้รับการสั่งจ่ายด้วยยาต้านการอักเสบแบบมาตรฐานและ 380 ราย ได้รับการสั่งจ่ายด้วยยาซีรีค๊อกซิบ ในจำนวนนี้พบรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ต่อทางเดินอาหารเป็นจำนวน 11 ราย (1.17%) ของกลุ่มที่ได้รับยาต้านการอักเสบแบบมาตรฐาน และ 3ราย (0.79%) ของกลุ่มซีรีค๊อกซิบในจำนวนนี้มี 2 ราย จากกลุ่มยาต้านการอักเสบแบบมาตรฐานที่เสียชีวิตจากอาการเลือดออกในทางเดินอาหาร การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่ามีจำนวนสูงมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มยาต้านการอักเสบแบบมาตรฐาน ซึ่งมีถึง 12.99% ในขณะที่กลุ่มซีรีค๊อกซิบมีอยู่ 9.8% (p = 0.06) ผลการรักษาโดยพิจารณาจากค่าอรรถประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 0.34 (±0.11) ในกลุ่มยาต้านการอักเสบแบบมาตรฐานและ 0.36 (±0.11); p = 0.004 ค่าเฉลี่ยของต้นทุนทั้งหมดที่เกิดขึ้นต่อรายหัว มีค่าใกล้เคียงกัน คือ 17,468.97 บาท สำหรับกลุ่มยาต้านการอักเสบแบบมาตรฐาน และ 17,495.0 บาท สำหรับกลุ่มซีรีค๊อกซิบ ในการศึกษานี้ข้อมูลที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือพบว่าค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดเปลี่ยนเข่าเป็นส่วนสำคัญของค่าใช้จ่ายทั้งหมด นอกจากนี้การคำนวณต้นทุนอรรถประโยชน์พบว่ายาซีรีค๊อกซิบคุ้มค่าอย่างมาก ที่สัดส่วนผลต่างต้นทุนต่ออรรถประโยชน์ (ICER) 1,382.70 บาท ผู้ป่วยจำนวน 1,296 ราย และได้รับการผ่าตัดข้อเข่าเทียม จำนวน 157 ราย ที่โรงพยาบาลตำรวจ โดยแบ่งเป็น สองกลุ่ม กลุ่มที่หนึ่งรักษาโดยซีรีค๊อกซิบ จำนวน 357 ราย กลุ่มที่สองรักษาโดยยาต้านการอักเสบทั่วไป จำนวน 939 ราย โดยอายุเฉลี่ย กลุ่มที่หนึ่ง: กลุ่มที่สอง 62.26: 64.17 yr ค่าดัชนีมวลกาย กลุ่มที่หนึ่ง: กลุ่มที่สอง 24.72: 25.28 จำนวนผู้ป่วยที่ผ่าตัดข้อเข่าเทียม กลุ่มที่หนึ่ง: กลุ่มที่สอง 35 (9.08%) : 122 (12.99%) คุณภาพชีวิตที่ 0 เดือน (ก่อนการรักษา) กลุ่มที่หนึ่ง: กลุ่มที่สอง -0.907: -0.0593 คุณภาพชีวิตที่ 6 เดือน (ก่อนการรักษา) กลุ่มที่หนึ่ง: กลุ่มที่สอง = 0.601: 0.595 ค่าความแตกต่างคุณภาพชีวิต กลุ่มที่หนึ่ง: กลุ่มที่สอง = 0.692: 0.654 ภาวะแทรกซ้อนทางเดินอาหารกลุ่มหนึ่ง: กลุ่มที่สอง = 3: 11 (ผู้ป่วยสองรายเสียชีวิตในกลุ่มที่สอง) cost/QALYs โดยไม่พิจารณาการผ่าตัดข้อเข่าเทียม กลุ่มที่หนึ่ง = 8,714.31: 2,504.81 cost/QALYs โดยพิจารณาการผ่าตัดข้อเข่าเทียม กลุ่มที่หนึ่ง: กลุ่มที่สอง = 26,809.61: 27,887.54
สรุป: ข้อมูลที่รายงานจากการศึกษานี้จะเป็นประโยชน์ในเชิงนโยบายต่อการพัฒนาแนวทางการรักษา รวมถึงนโยบายทางสุขภาพต่อไปในภายภาคหน้า
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2555, October ปีที่: 95 ฉบับที่ Suppl10 หน้า S98-S104
คำสำคัญ
Cost-utility analysis, coxib, NSAIDs and TKA