เปรียบเทียบการผ่าตัดข้อต่อกระดูกสันหลังเคลื่อนด้วยวิธีตรึงทางด้านหนังกับวิธีตรึงทางด้านหน้า
ธนันต์ชัย อนุพงศ์เมธี
กลุ่มงานศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลตรัง
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบผลการผ่าตัดเชื่อมข้อต่อกระดูกหลังเคลื่อนด้วยวิธีตรึงสกรูทางด้านหลังกับวิธีตรึงทางด้านหน้า
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษากึ่งทดลองในผู้ป่วย จำนวน 60 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่หนึ่ง 35 คน ได้รับการผ่าตัดเชื่อมข้อต่อโดยตรึงกระดูกสันหลังด้วยสกรู กลุ่มที่สอง 31 คน ตรึงกระดูกสันหลังด้านหน้า การผ่าตัดดำเนินการโดยศัลยแพทย์คนเดียวกัน วิเคราะห์ผลโดยเปรียบเทียบเวลาที่ใช้ในการผ่าตัด, การสูญเสียเลือด, เวลาพักรักษาตัวโรงพยาบาล, ผลการรักษาทางคลินิก, ภาวะแทรกซ้อน, ระยะเวลาที่กระดูกเชื่อมต่ออย่างสมบูรณ์, อัตราการเชื่อมต่อ, การวัดทางรังสี
ผลการศึกษา: ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในการสูญเสียเลือด, เวลาพักรักษาตัวโรงพยาบาล, ผลการรักษาทางคลินิก, ภาวะแทรกซ้อน ในกลุ่มผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม แต่ในกลุ่มที่ 2 ระยะเวลาที่ใช้ในการผ่าตัด, ระยะเวลาที่กระดูกเชื่อมต่ออย่างสมบูรณ์ยาวนานกว่ากลุ่มที่ 1 ส่วนในกลุ่มที่ 1 พบว่าจากการวัดทางรังสีมีการเลื่อนของกระดูกสันหลังกลับคืน
สรุป: การผ่าตัดทางคลินิกเชื่อมข้อต่อกระดูกสันหลังโดยตรึงด้วยสกรูทางด้านหน้าไม่แตกต่างจากการตรึงทางด้านหน้า แต่การตรึงทางด้านหน้าป้องกันการเลื่อนของกระดูกสันหลังกลับคืนได้ดีกว่า
ที่มา
วารสารวิชาการเขต 12 ปี 2555, July-December ปีที่: 23 ฉบับที่ 3 หน้า 33-40
คำสำคัญ
Posterior interbody fusion, lumbar spine, pedicular screw fixation, Interfacet fusion, spondylolytic, spondylolisthesis