คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมีย
ประไพ บุญมรกต*, วรรณา ฤทธิรุฒน์
โรงพยาบาลหาดใหญ่ สงขลา
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย
วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงพรรณนา ประชากร ได้แก่ ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียอายุ 7-18 ปี ที่มารับบริการในงานผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลหาดใหญ่ ระหว่างเดือนมีนาคม-มิถุนายน 2554 จำแนกตามศาสนา ตามการมารับเลือด และตามระยะเวลาที่ป่วย เลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 55 ราย เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามคุณภาพชีวิตที่ปรับปรุงจาก PedsQL version 4.0 หาความตรงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน คำนวณค่าความเที่ยงด้วยวิธีครอนบาคแอลฟาได้ค่าเท่ากับ 0.81 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบด้วยสถิติ Independence t-test
ผลการศึกษา: พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับสูง (Xbar = 3.97; SD = .44) ผู้ป่วยที่มารับเลือดต่างกันมีคะแนนคุณภาพชีวิตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P < .05 ส่วนผู้ป่วยที่ศาสนาต่างกัน ระยะเวลาป่วยต่างกัน คะแนนคุณภาพชีวิตไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยพบว่า ผู้ป่วยที่มารับเลือดสม่ำเสมอมีคะแนนคุณภาพชีวิตเฉลี่ยสูงกว่า (Xbar = 3.98; SD = .45) ผู้ป่วยที่มารับเลือดไม่สม่ำเสมอ (Xbar = 3.95; SD = .45) ผู้ป่วยที่นับถือศาสนาพุทธมีคะแนนคุณภาพชีวิตเฉลี่ยสูงกว่า (Xbar = 3.99; SD = .43) ผู้ป่วยที่นับถือศาสนาอิสลาม (Xbar = 3.91; SD = .52) และผู้ป่วยที่ระยะเวลาการเจ็บป่วยน้อยกว่า 6 ปี มีคะแนนคุณภาพชีวิตเฉลี่ยสูงกว่า (Xbar = 4.06; SD = .42) ผู้ป่วยที่ป่วยนานกว่า 6 ปี และเมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า คะแนนคุณภาพชีวิตเฉลี่ยอยู่ในระดับสูงทุกด้าน ด้านที่มีคะแนนคุณภาพชีวิตเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านสังคม (Xbar = 4.13; SD = .67) ส่วนด้านที่มีคะแนนคุณภาพชีวิตเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านร่างกาย (Xbar = 3.76; SD = .55)
ที่มา
วารสารวิชาการเขต 12 ปี 2555, July-December ปีที่: 23 ฉบับที่ 3 หน้า 78-85