กลุ่มบำบัดโดยการแก้ปัญหาในผู้ป่วยทีมีภาวะซึมเศร้าและเสียงต่อการฆ่าตัวตาย
วัชนี หัตถพนม, สายชล ยุบลพันธ์, สุวดี ศรีวิเศษ*, สโรชา บางแสง, อิงคฏา โคตนารา
Khon Kaen Rajanagarindra Psychiatric Hospital
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของกลุ่มบำบัดโดยการแก้ปัญหา ในผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าและเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย
วัสดุและวิธีการ: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง รูปแบบวัดก่อนและหลังทดลองเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยในของโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคทางจิตเวช มีภาวะซึมเศร้าและเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย อายุระหว่าง 20-60 ปี คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่ม(กลุ่มทดลอง 29 คน กลุ่มควบคุม 19 คน) ระยะเวลาในการศึกษาเดือนเมษายน-ธันวาคม 2555 กลุ่มทดลองได้รับการบำบัดแบบกลุ่มโดยการแก้ปัญหา (problem solving therapy: PST) กลุ่มควบคุมได้รับการบำบัดแบบกลุ่มจิตบำบัดประคับประคอง (supportive psychotherapy: SPI) วัดผลด้วยแบบวัดซึมเศร้า แบบประเมินความเสี่ยงฆ่าตัวตาย และวิเคราะห์ผลทักษะการแก้ปัญหาด้วย multivaviate analysis
ผล: กลุ่มที่ได้รับ PST มีทักษะการแก้ปัญหาเพิ่มขึ้น และมีระดับความรุนแรงภาวะซึมเศร้าลดลงมากกว่ากลุ่มที่ได้รับ SP อย่างมีนัยสำคัญ กลุ่มที่ได้รับ PST มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายลดลง และไม่มีผู้ป่วยกลับมารักษาซ้ำเป็นผู้ป่วยในหลังจำหน่าย 6 เดือน ส่วนกลุ่ม SP กลับมารักษาซ้ำ ร้อยละ 15.8
สรุป: การบำบัดด้วยกลุ่ม PST เป็นการบำบัดที่มีประสิทธิผลอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นการพัฒนาบริการในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าและเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ช่วยให้ผู้ป่วยนำไปใช้กับชีวิตประจำได้ อย่างไรก็ตามควรมีการติดตามผลในระยะยาวถึงความคงทนของประสิทธิผลที่เกิดขึ้น
 
ที่มา
วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย ปี 2556, May ปีที่: 21 ฉบับที่ 2 หน้า 98-109
คำสำคัญ
Depression, Group therapy, กลุ่มบำบัด, ซึมเศร้า, suicide, ฆ่าตัวตาย