การศึกษาร่วมหลายสถาบันเปรียบเทียบผลการรักษาผื่นภูมิแพ้ผิวหนังเด็กแบบสุ่มระหว่างสารให้ความชุ่มชื้นที่มีลิโคแคลโคน เอ (Licochalcone A) แบ่งครึ่งลำตัวและอีกข้างหนึ่งทาไฮโดรคอร์ติโซน (hydrocortisone)
ศิริวรรณ วนานุกูล*, สุชีรา ฉัตรเพริดพราย, อมรศรี ชุณหรัศมิ์, วนิดา ลิ้มพงศานุรักษ์, ศรีศุภลักษณ์ สิงคาลวณิช, รัตนาวลัย นิติยารมณ์, วาณี วิสุทธิ์เสรีวงศ์
Department of Pediatrics, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University, Bangkok 10310, Thailand; Phone: 0-2256-4951, Fax: 0-2256-4911; E-mail: siriwanwananukul@yahoo.com
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบผลการรักษาเด็กที่เป็นผื่นภูมิแพ้ผิวหนังที่มีระดับความรุนแรงของโรคน้อยถึงปานกลางด้วยสารให้ความชุ่มชื้นที่มีสีโคแซลโคน เอ (Licochalcone A, Lic A) และ hydrocortisone
วัสดุและวิธีการ: ทำการศึกษาในหลายสถาบันแบบไปข้างหน้า ในผู้ป่วยโรคผื่นภูมิแพ้ที่มีอายุระหว่าง 3 เดือนถึง 14 จำนวน 55 ราย โดยในระยะแรกเป็นการสุ่มแบ่งพื้นที่การรักษาเป็นซ้าย-ขวาของลำตัวและหน้า ข้างหนึ่งทาสารให้ความชุ่มชื้นที่มี Lic A และอีกข้างหนึ่งทา hydrocortisone วันละ 2 ครั้ง โดยวัดความรุนแรงของโรคด้วย SCORAD และค่าการผ่านของน้ำออกจากผิวหนัง (TEWL) เพื่อดูหน้าที่ในการป้องกันของผิวหนังก่อนการรักษา, 2 สัปดาห์และ 4 สัปดาห์ หลังการรักษา ในระยะต่อมาให้ผู้ป่วยทาสารให้ความชุ่มชื้นที่สาร Lic A ต่ออีก 4 สัปดาห์ ทั้งสองข้างของร่างกายเพื่อดูผลการรักษา
ผลการศึกษา: ผลการรักษาในระยะแรกพบว่าสารที่ให้ความชุ่มชื้นที่มี Lic A และ hydrocortisone ให้ผลการรักษาได้ดี โดยมีค่า SCORAD ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001)  เปรียบเทียบกับก่อนรักษา การเปรียบเทียบผลการรักษาระหว่างข้างที่ทาสารให้ความชุ่มชื้นที่มี Lic A และ hydrocortisone พบว่าค่า SCORAD ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่สัปดาห์ที่ 2 และ 4 ตามลำดับ (p = 0.321 และ p = 0.146) ส่วนค่า TEWL ลดลงในข้างที่ทาสารให้ความชุ่มชื้นที่มี Lic A มากกว่า hydrocortisone ในสัปดาห์ที่ 2 และ 4 ตามลำดับ (p = 0.027 และ p=0.03) มีผู้ป่วย 1 ราย  มีการติดเชื้อที่ผิวหนังบริเวณที่มีรอยโรคทั้งสองข้างของร่างกาย ในระยะต่อมาอีก 4 สัปดาห์ มีผู้ป่วยจำนวน 43 ราย ที่ทาสารให้ความชุ่มชื้นที่มี Lic A ทั้งสองข้างของร่างกายพบว่า SCORAD และ TEWL ไม่แตกต่างจากสัปดาห์ที่ 4 แต่ต่างจากก่อนรักษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) มีผู้ป่วยจำนวน 3 ราย (ร้อยละ 7.5) ที่มีอาการกำเริบของโรค
สรุป: สารให้ความชุ่มชื้นที่มี Lic A ให้ผลไม่แตกต่างจาก hydrocortisone  ในการรักษาผู้ป่วยที่เป็นผื่นภูมิแพ้ผิวหนังที่มีระดับความรุนแรงน้อยถึงปานกลาง แต่ค่า TEWL ซึ่งบ่งถึงหน้าที่ในการป้องกันของผิวหนังลดลงอย่างชัดเจนในข้างที่ใช้สารให้ความชุ่มชื้นที่มี Lic A และการทาสารให้ความชุ่มชื้นที่มี Lic A ต่ออีก 4 สัปดาห์ ทำให้อาการทางคลินิกและความสามารถในการป้องกันของผิวหนังดีขึ้น
 
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2556, September ปีที่: 96 ฉบับที่ 9 หน้า 1135-1142
คำสำคัญ
Transepidermal water loss, Atopic dermatitis, Licochalcone A