เปรียบเทียบประสิทธิผลของไมโสพรอสตอล ขนาด 400 และ 600 ไมโครกรัมเหน็บทางช่องคลอดในการยุติการตั้งครรภ์ในอายุครรภ์ที่น้อยกว่า 20 สัปดาห์
วิบูลย์ เรืองชัยนิคม*, เอกราช พงษ์พิษณุ, จามิกร เภกะสุต, สราวุธ สารภักดิ์, จามิกร เภกะสุต, วิบูลย์ เรืองชัยนิคม, สราวุธ สารภักดิ์, เอกราช พงษ์พิษณุ
Department of Obstetrics and Gynecology, Bhumibol Adulyadej Hospital, Bangkok 10220, Thailand.
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผล และอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้น จากการใช้ยาไมโสพรอสตอล ขนาด 400 และ 600 ไมโครกรัม เหน็บทางช่องคลอดในการทำให้เกิดการแท้งครบในหญิงตั้งครรภ์ที่ต้องยุติการตั้งครรภ์ในอายุครรภ์ที่น้อยกว่า 20 สัปดาห์ชนิดของการวิจัย: การวิจัยเชิงทดลองที่ แบ่งตัวอย่างโดยการสุ่มสถานที่ที่ทำการวิจัย: โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช พอ.บนอ.วัสดุและวิธีการ: หญิงตั้งครรภ์ จำนวน 125 ราย ผู้มีอายุครรภ์น้อยกว่า 20 สัปดาห์ ที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2546 ถึง 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 ได้รับความเห็นชอบให้ยุติการตั้งครรภ์จากแพทย์ผู้ดูแลรักษา และได้รับความยินยอมจากหญิงตั้งครรภ์และครอบครัว แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม โดยวิธีสุ่ม กลุ่มที่หนึ่ง 60 ราย เหน็บไมโสพรอสตอล ทางช่องคลอด ขนาด 200 ไมโครกรัม จำนวน 2 เม็ด ทุก 6 ชั่วโมง 3 ครั้ง ส่วนกลุ่มที่สอง 60 ราย เหน็บไมโสพรอสตอลทางช่องคลอด ขนาด 200 ไมโครกรัม จำนวน 3 เม็ด ทุก 6 ชั่วโมง 3 ครั้ง สังเกตและประเมินผลภายใน 24 ชั่วโมงตัววัดที่สำคัญ: อัตราการแท้งครบ และอาการข้างเคียงที่ เกิดขึ้นจากการใช้ไมโสพรอสตอล ขนาด 400 และ 600 ไมโครกรัม เหน็บทางช่องคลอด ใน 24 ชั่วโมงผลการศึกษา: จากการศึกษาพบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในลักษณะทั่วไปของกลุ่มประชากรตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม กลุ่มที่เหน็บยาไมโสพรอสตอล ขนาด 600 ไมโครกรัม มีอัตราแท้งครบใน 24 ชั่วโมง ร้อยละ 56.92 สูงกว่ากลุ่มที่ใช้ยาไมโสพรอสตอล ขนาด 400 ไมโครกรัม ซึ่งมีอัตราแท้งครบ ร้อยละ 38.33 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) แต่อาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการใช้ยา เช่น ไข้, ปวดท้องน้อย, เลือดออกมากทางช่องคลอด, ถ่ายเหลว ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05)สรุป: ไมโสพรอสตอล เหน็บทางช่องคลอด ขนาด 600 ไมโครกรัม ทุก 6 ชั่วโมง 3 ครั้ง สามารถทำให้เกิดแท้งครบได้ดี กว่า ขนาด 400 ไมโครกรัม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยที่อาการข้างเคียงจากการใช้ยาไม่ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิต
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2549, July ปีที่: 89 ฉบับที่ 7 หน้า 928-933
คำสำคัญ
Misoprostol, Termination of Pregnancy