ประสิทธิผลของการให้การปรึกษาแนวพุทธธรรมต่อการลดอาการซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
สมพร รุ่งเรืองกลกิจ*, สวิตตา ธงยศ, อิงคฏา โคตนารา, ขจรศักดิ์ วรรณทอง
ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมเพศภาวะและสุขภาพสตรี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการให้การบำบัดแนวพุทธธรรมแบบกลุ่มในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
วิธีการศึกษา: ใช้รูปแบบ randomized controlled trial หลังจากอาสาสมัครยินยอมเข้าโครงการ วิจัย กลุ่มตัวอย่าง 54 ราย แบ่งเป็น กลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 27 ราย ผู้ป่วยในกลุ่ม ทดลองถูกแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มๆ ละ 6-7 ราย ได้รับการบำบัดแนวพุทธธรรมแบบกลุ่มโปรแกรม บำบัดเป็นกลุ่มปิด สัปดาห์ละครั้งๆ ละ 2 ชั่วโมง 6 ครั้ง รวม 6 สัปดาห์ และเน้นให้ผู้ป่วยฝึกการ เจริญสติ อย่างต่อเนื่องที่ บ้าน ผู้ป่วยในกลุ่มควบคุมได้รับการดู แลตามปกติ ตามที่คลินิกจัดขึ้นรวมถึงการรักษาด้วยยาจากแพทย์ แพทย์ไม่รู้ว่าผู้ป่วยอยู่ในกลุ่มใด เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผล ประกอบด้วย แบบประเมินโรคซึมเศร้า 9 คำถาม แบบประเมินความครุ่นคิด แบบประเมินระดับ การมีสติ ประเมินก่อน และ ติดตามผลหลังการทดลอง 2 ครั้งคือเดือนที่ 1 และเดือนที่ 3 หลังการ ทดลอง ใช้สถิติ Mann-Whitney U test เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง 2 กลุ่ม
ผลการศึกษา: พบว่าผู้ป่วยทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีค่าคะแนนอาการของโรคซึมเศร้า อาการครุ่นคิดลดลงและมีค่าคะแนนการมีสติมากขึ้น อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบความ แตกต่างคะแนนโรคซึมเศร้าตามแบบประเมินโรคซึมเศร้าด้วย 9 คำถาม พบว่ากลุ่มทดลอง มีค่าคะแนนมัธยฐานของคะแนนโรคซึมเศร้า ความครุ่นคิดน้อยกว่า และระดับการมีสติมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในการประเมินเดือนที่ 1 และ 3
สรุป: การบำบัดแนวพุทธธรรมแบบกลุ่มช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาอาการซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจากการได้รับการบำบัดตามปกติ
 
ที่มา
วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ปี 2557, October-December ปีที่: 59 ฉบับที่ 4 หน้า 381-393
คำสำคัญ
Depression, depressive disorder, ซึมเศร้า, Buddhist therapy, mindfulness, meditation, การบำบัดแนวพุทธธรรม, การเจริญสติ, สมาธิ