การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างการใช้ยา 1% Ephedrine ร่วมกับ 10% Xylocaine เทียบกับ 1% Ephedrine เพียงอย่างเดียวในการส่องกล้องตรวจโพรงจมูก
พงษ์ศักดิ์ กิ่งรุ้งเพชร
ภาควิชาจักษุ โสต ศอ นาสิก ลาริงช์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการมองเห็นในการตรวจโพรงจมูกโดยใช้กล้องส่องโพรงจมูกชนิด Fiber Optic และความเจ็บปวดระหว่างการส่องกล้องในการใช้ 1% Ephedrine ร่วมกับ 10% Xylocaine เทียบกับ 1% Ephedrine เพียงอย่างเดียวผู้ป่วยได้รับการสุ่มคัดเลือกอย่างอิสระในการบริหารยาในจมูกทั้งสองข้าง
กลุ่มตัวอย่าง: ผู้ป่วยนอกแบบ หู คอ จมูก จำนวน 49 รายที่มีข้อบ่งชี้ในการส่องกล้องโพรงจมูก
วิธีการดำเนินการวิจัย: ผู้ป่วยที่ส่องกล้องเพื่อดูโพรงจมูก ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ ใช้การสอดสำลีชุบยาใส่ในโพรงจมูกก่อนการตรวจซ้าย, ขวา โดยที่ด้านใดด้านหนึ่ง เป็น 1% Ephedrine ร่วมกับ 10% Xylocaine ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็น 1% Ephedrine เพียงอย่างเดียวบันทึกสลับ ซ้าย, ขวา ในผู้ป่วยแต่ละคน โดยที่ผู้ป่วยไม่สามารถทราบได้ว่าด้านใดมี 10% Xylocaine ร่วมด้วย จากนั้นบันทึกการมองเห็น และความเจ็บปวดคะแนนความเจ็บปวดขณะบริหารยา และขณะทำการส่องกล้องของผู้ป่วย วัดจาก visual analogue scale 0-10 ในขณะทำการส่องกล้องบันทึกสลับ ซ้าย,ขวา ในผู้ป่วยแต่ละคน โดยที่ผู้ป่วยไม่สามารถทราบได้ว่าด้านใดมี 10% Xylocaine ร่วมด้วย จากนั้นบันทึกการมองเห็น Interior Turbinate, Middle Turbinate, Middle meatous, Nasopharynx และส่วนอื่นๆ ของ Nasal Cavity
ตัววัดที่สำคัญ: คะแนนความปวดขณะทดสอบ และส่องตรวจโพรงจมูก รายละเอียดของการตรวจพบจากการส่องกล้อง สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลและการคำนวณกลุ่มตัวอย่าง ใช้วิธี chi-square
ผลการวิจัย: มีผู้ป่วยจำนวน 49 รายในการศึกษาครั้งนี้ เป็นชาย 39 ราย หญิง 19 ราย อายุ 15-73 ปี อายุเฉลี่ย 45.24 ปี ค่าเฉลี่ยความเจ็บปวดในขณะส่องกล้องเมื่อใช้ 1% Ephedrine คือ 3.53 และ เมื่อใช้ 1% Ephedrine ร่วมกับ 10% Xylocaine ค่าเฉลี่ยคือ 3.22 ค่าเฉลี่ยรายละเอียดของการตรวจพบจากการส่องกล้องเมื่อใช้ 1% Ephedrine คือ 3.49 และ เมื่อใช้ 1% Ephedrine ร่วมกับ 10% Xylocaine ค่าเฉลี่ยคือ 3.59 ระดับความเจ็บปวดขณะทำการส่องกล้อง เมื่อใช้ 1% Ephedrine เพียงอย่างเดียว และ เมื่อใช้ 1% Ephedrine ร่วมกับ 10% Xylocaine แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.04 และตำแหน่งรายละเอียดของการตรวจพบจากการส่องกล้อง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.00
สรุป: ยาชาเป็นสารที่มีฤทธิ์ปิดกั้น หรือขัดขวางการเหนี่ยวนำกระแสประสาท (Nerve Impulses) ของปลายประสาทส่วนปลาย (Peripheral Nerve Ending) ทำให้เซลล์ประสาทบริเวณนั้นหยุดทำงานลงชั่วคราว เกิดการขัดขวางการผ่านเข้าสู่เซลล์ของ Sodium lon และการผ่านออกจากเซลล์ของ Potassium lon ทำให้บริเวณนั้นเกิดอาการชาหมดความรู้สึก สามารถระงับอาการปวดได้ จากผลการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 49 คนแบ่งเป็นชายจำนวน 30 ราย หญิงจำนวน 19 ราย อายุ 15-73 ปี อายุเฉลี่ย 45 ปี ซึ่งในการทำการศึกษา พบว่า ระดับความเจ็บปวดในการใช้ตัวยา 1% Ephedrine เพียงอย่างเดียว และ เมื่อใช้ 1% Ephedrine ร่วมกับ 10% Xylocaine แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.04 แสดงถึง การใช้ตัวยา 10% Xylocaine นั้นช่วยบรรเทาความเจ็บปวดขณะส่องกล้องได้มากกว่าการใช้ 1% Ephedrine เพียงอย่างเดียว แต่ระดับค่าเฉลี่ยความเจ็บปวดนั้น ไม่แตกต่างกันมาก หากไม่ต้องการความยุ่งยากในการเตรียมยา อีกทั้งลดค่าใช้จ่ายในการจัดหายา ก็ไม่ต้องผสมยาทั้งสองชนิดเข้าด้วยกัน อีกทั้งนี้ ไซโลเคน มีข้อระวังการแพ้ซึ่งมีตั้งแต่อาการอย่างอ่อน เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะไปจนถึงอย่างมากคือ หน้ามืด ตามองไม่เห็น ว้าวุ่น และชักหมดสติ
 
ที่มา
วารสารหู คอ จมูก และใบหน้า ปี 2556, September-December ปีที่: 14 ฉบับที่ 3 หน้า 39-48
คำสำคัญ
Nasal endoscopy, 10% Xylocaine, 1% Ephedrine