คุณภาพชีวิต ภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในผู้ป่วยโรคมะเร็งท่อนํ้าดีที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์
นิตยา จรัสแสง, สุวรรณา อรุณพงค์ไพศาล, วิจิตรา พิมพะนิตย์, สมจิตร์ มณีกานนท์, สลักจิต ศรีมงคล, สุดารัตน์ บุตรศรีภูมิ
โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิต ภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในผู้ป่วยโรคมะเร็งท่อนํ้าดีที่มารับบริการห้องตรวจผู้ป่วยนอกศัลยกรรมโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2556 - กรกฎาคม พ.ศ. 2557
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง (crossectional descriptive study) โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคมะเร็งท่อนํ้าดี ตามเกณฑ์การวินิจฉัยโรค ICD-10 และมารับบริการที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอกศัลยกรรมโรงพยาบาลศรีนครินทร์ในช่วง ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2556 - กรกฎาคม พ.ศ. 2557 จำนวน 125 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ 1) แบบบันทึกข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วย 2) แบบประเมินคุณภาพชีวิต (FACT-Hep) version 4 ฉบับภาษาไทย 3) แบบประเมิน KKU-DI ฉบับปรับปรุง 4) แบบประเมินความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย Mini International Neuropsychiatric Interview (M.I.N.I) ฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยโรคโรคมะเร็งท่อนํ้าดีร้อยละ 55.2 มีคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับสูง ทั้ง 3 มิติ
ได้แก่ มิติด้านร่างกาย ด้านสังคม และด้านอารมณ์และจิตใจ คิดเป็น ร้อยละ 47.2, 60 และ 48.8 ตามลำดับ แต่มีเพียงด้านการปฏิบัติกิจกรรมที่มีคุณภาพชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลางคิดเป็น ร้อยละ 49.6 และพบว่าส่วนใหญ่มีภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 59.2 โดยแบ่งเป็นระดับเล็กน้อย ร้อยละ 49.6 ปานกลางร้อยละ 5.6 รุนแรงร้อยละ 4.0 นอกจากนี้พบว่าร้อยละ 8.8 มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในระดับเสี่ยงเล็กน้อย
สรุป: กลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็งท่อนํ้าดีมากกว่าครึ่ง มีคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับสูง และมีภาวะซึมเศร้าในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายระดับเล็กน้อย เสนอแนะว่าควรมีการคัดกรองภาวะซึมเศร้าในทุกระยะของการเจ็บป่วย
 
ที่มา
วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ปี 2558, July-September ปีที่: 60 ฉบับที่ 3 หน้า 201-208
คำสำคัญ
Depression, คุณภาพชีวิต, ภาวะซึมเศร้า, Cholangiocarcinoma, คุณภาพชี่วิต, Quality of Life ( QoL), Suicidality, ความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย, ผู้ป่วยโรคมะเร็งท่อทางเดินนํ้าดี