ประสิทธิผลการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกต่อการจัดการความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมโรงพยาบาลอุตรดิตถ์
เรณู ทิยะมุข*, ศุภนีภรณ์ อินทร์หม่อม
หอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกชาย โรงพยาบาลอุตรดิตถ์
บทคัดย่อ
ความเป็นมา: อาการปวดหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมใน 24-72 ชั่วโมงของผู้สูงอายุ มีผลกระทบทั้งด้านร่างกาย จิตใจสังคม และจิตวิญญาณ การประเมินและการจัดการความปวดที่เหมาะสมโดยมีแนวปฏิบัติทางคลินิกจะเป็นประโยชน์ต่อการบรรเทาความปวดหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมของผู้สูงอายุได้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกต่อการจัดการความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม
รูปแบบการศึกษา: การวิจัยเชิงทดลอง
สถานที่ศึกษา: หอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกชายและหญิง ตึกพิเศษ โรงพยาบาลอุตรดิตถ์
วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม อายุ 60 ขึ้นไป เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 64 ราย โดยจัดให้ 32 รายแรก เป็นกลุ่มควบคุม ได้รับการพยาบาลตามปกติ และอีก 32 ราย เป็นกลุ่มทดลอง ได้รับการพยาบาลโดยใช้แนวปฏิบัติทางคลินิก ระหว่างเดือนมกราคม ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2557 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 1. แนวปฏิบัติการจัดการความปวดโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ 2. แบบประเมินความปวดโดยใช้มาตรวัดชนิดที่เป็นตัวเลข 3. เครื่องมือประเมินผล แบบสอบถาม Modifi ed WOMAC (Westerm Ontario and MacMaster University) ฉบับภาษาไทยของราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย รวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ด้วยสถิติ Fisher’s exact test และ t-test
ผลการศึกษา:  เพศ อายุ ข้อมูลเกี่ยวกับการผ่าตัด ศึกษาด้านการวินิจฉัยโรค ชนิดการผ่าตัด ชนิดของยาระงับความรู้สึก และภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด พบว่า ทั้งสองกลุ่มไม่แตก ต่างกัน (p>.05) ระดับความรุนแรงของอาการปวดหลังผ่าตัด เมื่อครบ 48 และ 72 ชั่วโมง และระดับความสามารถในการใช้งานข้อ กลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติแตกต่างจากกลุ่มที่ไม่ได้ใช้แนวปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05) ภาวะแทรกซ้อนที่พบมากที่สุดหลังผ่าตัดคือ การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ และแผลกดทับ อาการไม่พึงประสงค์หลังผ่าตัดที่พบมากที่สุด คือท้องผูก
สรุปและข้อเสนอแนะ:  ผลการวิจัยสนับสนุนแนวปฏิบัติทางคลินิก ช่วยให้ผลการผ่าตัดดีขึ้นสามารถนำไปสู่ผลลัพธ์ทางการพยาบาลที่ดี สามารถจัดการความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมได้
 
ที่มา
อุตรดิตถ์เวชสาร ปี 2557, September-December ปีที่: 29 ฉบับที่ 3 หน้า 68-78
คำสำคัญ
ผู้สูงอายุ, หลังผ่าตัด, Clinical Practice Guideline, การจัดการความปวด, แนวปฏิบัติทางคลินิก, pain management program, Elders, Post-Operation, total hip replacement, เปลี่ยนข้อสะโพกเทียม