ผลลัพธ์ทางคลินิกและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหืด คลินิกโรคหืด โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ
สุณี เลิศสินอุดม*, เกศริน ชูปัญญาเลิศ
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002
บทคัดย่อ
 บทนำ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์ทางคลินิกและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหืด โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ คลินิกโรคหืด วิธีการดำเนินการวิจัย: ศึกษาแบบกึ่งทดลองไปข้างหลัง (Retrospective Quasi-Experiment or Pre-Post Study) ในผู้ป่วยนอกรายใหม่ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคหืด และเข้ารับการรักษาในคลินิกผู้ป่วยโรคหืด ระหว่าง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ถึง 31 มกราคม พ.ศ. 2555 มีการติดตามผลการรักษาในคลินิกอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน และได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรมจากเภสัชกรในคลินิกอย่างน้อย 2 ครั้ง แล้วดูผลลัพธ์ทางคลินิกได้แก่ สมรรถภาพปอด และระดับการควบคุมโรคหืด ทุก 2 เดือน และวัดคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ณ ครั้งแรกที่เข้าคลินิกและหลังจากรับการรักษาต่อเนื่องมา 6 เดือนโดยใช้แบบวัดคุณภาพชีวิต Thai MiniAQLQ โดยค่า ผลการวิจัย: ผู้ป่วยจานวน 41 ราย อายุเฉลี่ย 44.00±5.32 ปี เป็นเพศหญิงร้อยละ 65.9 จากการศึกษาพบว่า ผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในคลินิกโรคหืดดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญกล่าวคือ ค่าสมรรถภาพปอด (PEFR) มีค่ามากกว่าค่าเริ่มต้น (304.8 ± 102.9 และ 330.2 ± 114.2 ตามลำดับ, p=0.026) ร้อยละของจานวนผู้ป่วยที่มีค่าสมรรถภาพปอด (%PEFR) มากกว่าร้อยละ 80 มีจานวนสูงกว่าค่าเริ่มต้น (ร้อยละ 41.5 และ ร้อยละ 61.0 ตามลาดับ, p=0.003) ภายหลังได้รับการบริบาลจากทีมสหสาขาวิชาชีพ พบว่าระดับการควบคุมโรคหืดของผู้ป่วยแตกต่างกับก่อนเข้าร่วมในคลินิก โดยผู้ป่วยที่มีการควบคุมโรคในระดับ controlled และ partly controlled/uncontrolled ก่อนเข้าคลินิก เท่ากับร้อยละ 34.2 และ 65.8 ตามลาดับ และเมื่อสิ้นสุดการศึกษา มีผู้ป่วยที่มีการควบคุมโรคในระดับ controlled เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 65.9 และ partly controlled หรือ uncontrolled ลดลงเป็นร้อยละ 34.1 (p = 0.008) พบจานวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉินลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ร้อยละ 19.5 และร้อยละ 2.4 ตามลาดับ, p=0.039) ด้านคุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้ป่วยหลังเข้ารับการรักษาในคลินิกโรคหืดดีขึ้นโดยมีค่าเฉลี่ยของคะแนนสูงกว่าครั้งแรกอย่างมีนัยสำคัญทางคลินิก (4.1±0.9 และ 5.2±1 ตามลาดับ, p<0.0001) และในทุกมิติทั้งด้านอาการ ด้านการแสดงอารมณ์ ด้านการจากัดในกิจกรรมและด้านสิ่งเร้าในสภาพแวดล้อม ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นเดียวกัน สรุปผลการวิจัย: การบริบาลผู้ป่วยโรคหืด โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ในคลินิกโรคหืด ส่งผลให้ผลลัพธ์ทางคลินิกและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น
 
ที่มา
วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน ปี 2559, February ปีที่: 11 ฉบับที่ Suppl หน้า 234-244
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, ผลลัพธ์ทางคลินิก, ผู้ป่วยโรคหืด, คุณภาพชี่วิต, Clinical outcomes, asthma patients, asthma clinic, tertiary care hospital, คลินิกโรคหืด, โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ