ผลของการรักษาด้วย Mulligan เทคนิค rotation SNAG ที่ระดับ T6 ในผู้ที่มีอาการปวดหลังส่วนบนแบบเชิงกล: randomized controlled trial
ศิรินันท์ จันทร์หนัก*, วดี แซ่ลี้, Nutcha Narongrittikai, ภานิตา จันทรธานี, จุไรรัตน์ นาควิโรจน์, พีรพงษ์ วงษ์สวรรค์, ธมนพัณณ์ นันทพงศ์ภัค
Faculty of Physical Therapy, Huachiew Chalermprakiet University; email: bell_l_leb@hotmail.com
บทคัดย่อ
อาการปวดหลังส่วนบนแบบเชิงกลพบได้บ่อยเพิ่มมากขึ้นในกลุ่มของพนักงานสำนักงาน รองจากปวดคอและอาการปวดหลังส่วนล่าง แต่ระดับความรุนแรงที่ส่งผลให้เกิดภาวะทุพลภาพแทบจะไม่แตกต่างกัน ปัจจุบันเทคนิค Mulligan นิยมใช้ในการลดปวดและเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหว แต่ยังไม่มีการศึกษาใดที่ศึกษาถึงผลของ rotation SNAG ในพนักงานสำนักงานที่มีอาการปวดหลังส่วนบน ดังนั้นการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระดับความเจ็บปวดและ องศาการเคลื่อนไหวของหลังส่วนบนในทุกทิศทางก่อนและหลังการรักษาด้วย rotation SNAG ที่ระดับ T6 และเปรียบเทียบผลการรักษาระหว่างกลุ่ม
rotation SNAG ที่ระดับ T6 กับกลุม่ การรักษาหลอกในผูที้่มีอาการปวดหลังสว่ นบนแบบเชิงกล โดยอาสาสมัครเปน็ ผูที้่มีอาการปวดหลังส่วนบนแบบเชิงกลมีอายุระหว่าง 18 – 35 ปี และมีระดับความเจ็บปวดที่บริเวณหลังส่วนบนที่ประเมินด้วย visual analogue scale (VAS) ≥ 2 คะแนน จำนวน 38 คน ได้รับการสุ่มแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่ม rotation SNAG ที่ระดับ T6 และกลุม่ การรักษาหลอกกลุม่ ละ 19 คน ประเมินผลกอ่ นและหลังการรักษาทันทีดว้ ยแบบประเมิน VAS วัดองศาการเคลื่อนไหว ของกระดูกสันหลังส่วนบนด้วยเครื่องวัดมุม 360 องศาแบบคู่ (double inclinometer) ในทุกทิศทาง และวัดระดับความพึง
พอใจโดยภาพรวม (global perceived effect; GPE) ภายหลังการรักษา ผลการวิจัยพบวา่ หลังการรักษากลุม่ rotation SNAG และกลุ่มการรักษาหลอกมีระดับอาการเจ็บปวดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.00) ทั้งสองกลุ่ม แต่ไม่มีความแตกต่างขององศาการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังส่วนบนในทุกทิศทาง (p > 0.05) ยกเว้นในทิศทางการก้มตัวได้น้อยลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของกลุ่มการรักษาหลอก (ค่าความแตกต่าง = -3.89, p = 0.02) นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพบว่ากลุ่ม rotation SANG สามารถลดระดับความเจ็บปวดมากกว่ากลุ่มการรักษาหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.00) แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติขององศาการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังส่วนบนในทุกทิศทาง (p > 0.05)
อีกทั้งในกลุ่ม rotation SNAG มีความพึงพอใจหลังการรักษาว่ามีอาการที่ดีขึ้นทุกคน (100%) ดังนั้นจากผลการศึกษาสรุปได้ว่า การรักษาด้วยเทคนิค rotation SNAG ที่ระดับ T6 สามารถลดอาการปวดในผู้ที่มีอาการปวดหลังส่วนบนแบบเชิงกลได้
 
ที่มา
วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด ปี 2559, January-April ปีที่: 28 ฉบับที่ 1 หน้า 81-91
คำสำคัญ
Thoracic spine pain, Mulligan technique, SNAG technique, ปวดหลังส่วนบน, เทคนิค Mulligan, เทคนิค SNAG