ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของลำตัวในผู้ที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างแบบไม่จำเพาะเจาะจงที่อยู่ในระยะกึ่งเฉียบพลัน: การศึกษานำร่อง
รุ่งทิพย์ เฉลิมแสน*, รุ้งทิพย์ พันธุเมธากุล, วนิดา ดรปัญญา, ทกมล กมลรัตน์, อุไรวรรณ ชัชวาล, ธวิพร พิทักษ์, ปรัชญา กาละดี
Faculty of Associated Medical Sciences, Khon Kaen University
บทคัดย่อ
การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของลำตัว (core stabilization exercise; CSE) ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างแบบไม่จำเพาะเจาะจงที่อยู่ในระยะกึ่งเฉียบพลัน กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครหญิงอายุ 18-60 ปี ที่มีอาการปวดหลังอยู่ระหว่าง 6-12 สัปดาห์ โดยแบ่งเป็นสองกลุ่ม คือกลุ่มออกกำลังกาย 10 คน และกลุ่มควบคุม 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของตัวแปรที่ต้องการศึกษาระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติ analysis of covariance (ANCOVA) ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มออกกำลังกายมีระดับอาการปวดและระดับคะแนนทุพพลภาพลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ทั้งในช่วงประเมินผลในสัปดาห์ที่ 4 ของโปรแกรมการรักษา และเมื่อสิ้นสุดโปรแกรมการรักษาสัปดาห์ที่ 7
 
ที่มา
วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ ปี 2559, January-March ปีที่: 39 ฉบับที่ 1 หน้า 48-60
คำสำคัญ
core stabilization exercise, non-specifi c low back pain, subacute low back pain, การออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของลำตัว, ปวดหลังส่วนล่างแบบไม่จำเพาะเจาะจง, ปวดหลังในระยะกึ่งเฉียบพลัน