การวิเคราะห์ต้นทุน-ประสิทธิผลของยา Celecoxib ต่อการป้องกันอาการไม่พึงประสงค์ต่อระบบทางเดินอาหารของผู้ป่วยโรคข้ออักเสบ
จุฬาภรณ์ ลิมวัฒนานนท์, ปฐมทรรศน์ ศรีสุข, สุพล ลิมวัฒนานนท์*, สุมนต์ สกลไชย
Faculty of Pharmaceutical Sciences, Khon Kaen University. Tel: 043 362030 , E-mail: supon@kku.ac.th
บทคัดย่อ
อาการไม่พึงประสงคต่อระบบทางเดินอาหารจากการใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด (non-steroidal anti-inflammatory drugs, NSAID) พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีความจําเป็นต้องใช้ยาติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เช่น โรคข้ออักเสบ (osteoarthritis) Celecoxib เป็น COX2 inhibitors ที่มีประสิทธิผลในการลดการอักเสบได้ใกล้เคียงกับ NSAID แตทําให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ต่อระบบทางเดินอาหารได้น้อยกว่า อย่างไรก็ตาม ยาดังกล่าวมีราคาค่อนข้างแพง ซึ่งอาจทําให้ผู้ป่วยบางกลุ่มไม่สามารถเข้าถึงได การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะหอัตราส่วนต้นทุน-ประสิทธิผล (incremental cost-effectiveness ratio, ICER) ของการใช celecoxib เปรียบเทียบกับ NSAID ทั่วไปเมื่อใช้ร่วมกับ gastroprotective agents (GPA) ไดแก H-2 receptor antagonists (H2RA) และ proton pump inhibitors (PPI)เพื่อลดการเกิดอาการไม่พึงประสงคดังกล่าว ภายใตบริบทมุมมองของผู้ให้บริการทางสุขภาพ ข้อมูลด้านประสิทธิผลของ celecoxib และ NSAID ได้จากการศึกษาในต่างประเทศ คือ Celecoxib Outcomes Measurement Evaluation Tool (COMET) ซึ่งแสดงอยู่ในรูปของความน่าจะเป็นของการเกิดอาการในระบบทางเดินอาหารแต่ละประเภท ตั้งแต่อาการไม่สบายท้อง โลหิตจางเนื่องจากเสียเลือดจากแผลในกระเพาะอาหาร จนถึงอาการแทรกซ้อนที่รุนแรง ข้อมูลในด้านองค์ประกอบของต้นทุนทางตรงได้จากความเห็นของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และราคาต่อหน่วยของยาที่ใช้ในแต่ละทางเลือกไดจากการวิเคราะห์ข้อมูลอิเลคทรอนิกด้านการใช้ยาของโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป 18 แห่ง ตัวแบบที่ใช้ในการวิเคราะห์ต้นทุนและประสิทธิผล คือ Decision Analysis Model ซึ่งกําหนดกรอบระยะเวลา 6 เดือน ผลการศึกษาพบว่า สําหรับ reference case (GI-event risk category ระหวางที่ 7 และ 8) การใช celecoxib ในผู้ป่วย 1,000 ราย สามารถลดการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ต่อระบบทางเดินอาหารจากการใช NSAID คือ diclofenac ร่วมกับ H2RA คือ ranitidine ได้โดยเฉลี่ย 40.2 ครั้ง โดยต้องเสียค่าใช้จ่าย    ด้านการรักษาพยาบาลเป็นเงินประมาณ 4.6 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็น ICER หรือค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น 114,975 บาท ต่อการหลีกเลี่ยงอาการในระบบทางเดินอาหาร 1 ครั้ง (GI event avoided) และหากต้องการลดการเกิดอาการไม่พึงประสงคต่อระบบทางเดินอาหารจากการใช NSAID ร่วมกับ PPI คือ omeprazole 1 ครั้ง ด้วย celecoxib จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นถึง 948,611 บาท โดยในผูป่วย 1,000 ราย การใช celecoxib สามารถลดอาการในระบบทางเดินอาหารจากการใช NSAID ร่วมกับ PPI ไดโดยเฉลี่ย 3.6 ครั้ง โดยที่มีต้นทุนทางตรงเพิ่มขึ้นประมาณ 3.4 ล้านบาท นอกจากนี้ ค่า ICER ที่คํานวณไดค่อนข้างมีความไวต่อระดับความเสี่ยงของการเกิดอาการในระบบทางเดินอาหาร (risk category) ขอผู้ป่วย ดังนั้น ความคุ้มค่าของการใช celecoxib ในประเทศไทยจึงขึ้นกับผู้ตัดสินใจนโยบายด้านสุขภาพว่ายินดีที่จะจ่ายด้วยเงินตามมูลค่าดังกล่าวหรือไมเพื่อแลกกับการลดการเกิดอาการในระบบทางเดินอาหารซึ่งเป็นประสิทธิผลที่ดีกว่าของ celecoxib เมื่อเทียบกับการใช NSAID ร่วมกับ GPA โดยทั่วไป
ที่มา
วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน ปี 2548, January-June ปีที่: 3 ฉบับที่ 1 หน้า 15-17
คำสำคัญ
Cost-effectiveness analysis, การวิเคราะห์ต้นทุน-ประสิทธิผล, Celecoxib, Gastrointestinal Events, osteoarthritis, ยา Celecoxib, อาการในระบบทางเดินอาหาร, โรคข้ออักเสบ