การศึกษาทดลองแบบสุ่มโดยใช้เสียงเพลงเพื่อลดความเจ็บระหว่างการเจาะตรวจน้ำคร่ำช่วงไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์
ธารางรัตน์ หาญประเสริฐพงษ์*, อุ่นใจ กออนันตกุล, เรืองศักดิ์ ลีธนาภรณ์, จิตเกษม สุวรรณรัฐ, ฐิติมา สุนทรสัจ, นิลภา พฤกษานุศักดิ์, สาวิตรี พรานพนัส
Department of Obstetrics and Gynecology, Faculty of Medicine, Prince of Songkla University, Hat Yai, Songkhla 90110, Thailand; Phone: +66-74-451201; E-mail: htharang@medicine.psu.ac.th, tharangrut@hotmail.com
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของเสียงเพลงในการลดความรู้สึกเจ็บปวดระหว่างการเจาะตรวจน้ำคร่ำช่วงไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์
                วัสดุและวิธีการ : เป็นการทดลองแบบสุ่ม โดยเปรียบเทียบระดับความเจ็บปวดก่อนและหลังทำหัตถการด้วยมาตรวัดความเจ็บปวดด้วยสายตา ระหว่างกลุ่มที่ได้รับและไม่ได้รับการระงับปวดด้วยเสียงเพลง และวัดขั้นความเจ็บ ความรู้สึกเจ็บเมื่อเทียบกับการเจาะเลือดจากหลอดเลือดดำและการตัดสินใจเข้ารับการเจาะน้ำคร่ำซ้ำหากมีข้อบ่งชี้ในอนาคตภายหลังการเจาะน้ำคร่ำระหว่างทั้งสองกลุ่ม
                ผลการศึกษา : มีผู้เข้าร่วมการศึกษา 332 คน ระดับความเจ็บก่อน ความเจ็บปวดที่คาดหมาย และความเจ็บปวดหลังการเจาะน้ำคร่ำขั้นความเจ็บ ความรู้สึกเจ็บเมื่อเทียบกับการเจาะเลือดจากหลอดเลือดดำและการตัดสินใจเข้ารับการเจาะน้ำคร่ำซ้ำหากมีข้อบ่งชี้ในอนาคตภายหลังการเจาะน้ำคร่ำ ไม่แตกต่างระหว่างสองกลุ่มทดลอง
                สรุป : เสียงเพลงไม่สามารถลดความเจ็บปวดจากการเจาะตรวจน้ำคร่ำช่วงไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์ได้
 
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2560, December ปีที่: 99 ฉบับที่ 12 หน้า 1272-1276
คำสำคัญ
pain, Music, Amniocentesis