ผลของการให้โฟเลตและวิตะมินบี ต่อระดับโฮโมซิสเตอีน (homosysteine) และความหนาของหลอดเลือดแดงคารอติดในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ทำการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
ชัยรัตน์ ฉายากุล, ทวี ชาญชัยรุจิรา, ปกรณ์ ตุงคะเสรีรักษ์, ลีนา องอาจยุทธ*, วลัยลักษณ์ ชัยสูตร, วัฒนา เลี้ยววัฒนา, สมพงษ์ องอาจยุทธ, สมเกียรติ วสุวัฏฏกุล, สุชาย ศรีทิพยวรรณ, เกรียงศักดิ์ วารีแสงทิพย์
Renal Division, Department of Medicine, Faculty of Medicine, Siriraj Hospital, Mahidol University, Bangkok 10700, Thailand. Phone: 0-2419-8383, Fax: 0-2412-1362, E-mail: siloy@mahidol.ac.th
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญอย่างหนึ่งของภาวะหลอดเลือดแดงแข็งคือการมีระดับโฮโมซิสเตอีนสูงในเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดแดงหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดแดงสมอง และโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย ซึ่งนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนจนเป็นสาเหตุการตายในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการรักษาโดยวิธีฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม การลดระดับโฮโมซิสเตอีนสามารถลดอัตราการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งลงได้ การศึกษานี้มี วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการให้ กรดโฟลิคและวิตะมินบี ว่าสามารถลดระดับโฮโมซิสเตอีน และลดหรือชะลอการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งโดยการวัดความหนาของผนังหลอดเลือดแดงคารอติดชั้น intima ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ทำการรักษาโดยวิธีฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมได้หรือไม่วัสดุและวิธีการ: ศึกษาในผู้ป่วยจำนวน 54 คน แบ่งผู ้ป่วยเป็น 2 กลุ่มโดยการสุ่ม, กลุ่มที่ 1 ได้รับกรดโฟลิค ขนาด 15 มิลลิกรัม/วัน, วิตะมินบี 6 ขนาด 50 มิลลิกรัม/วัน, และวิตะมินบี 12 ขนาด 1 มิลลิกรัม/วัน รับประทานติดต่อกันเป็นเวลา 6 เดือน, ส่วนกลุ่มที่ 2 ได้รับกรดโฟลิคขนาด 5 มิลลิกรัม/วันผลการศึกษา: พบว่าระดับโฮโมซิสเตอีนในกลุ่มที่ได้รับวิตะมินรวมลดลงจาก 27.94 ± 8.54 เหลือ 22.71 ± 3.68 ไมโครโมลต่อลิตร ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.009) ส่วนในกลุ่มที่ได้รับกรดโฟลิคอย่างเดียวมีระดับโฮโมซิสเตอีนเพิ่มขึ้นจาก 26.81 ± 7.10 เป็น 30.82 ± 8.76 ไมโครโมลต่อลิตร ซึ่งไม่มีความแตกต่างสำคัญทางสถิติ (p = 0.08) สำหรับค่าความหนาของหลอดเลือดแดงชั้น intima ในกลุ่มที่ได้รับวิตะมินรวมมีแนวโน้มที่จะลดลงสรุป: การให้กรดโฟลิคขนาด 15 มิลลิกรัม/วัน, วิตะมินบี 6 ขนาด 50 มิลลิกรัม/วัน และวิตะมินบี 12 ขนาด 1 มิลลิกรัม/วัน สามารถที่จะลดระดับโฮโมซิสเตอีนลงได้ และมีแนวโน้มที ่จะลดค่าความหนาของหลอดเลือดแดงคารอติดในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ทำการรักษาโดยวิธีฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2549, August ปีที่: 89 ฉบับที่ 8 หน้า 1472-1478
คำสำคัญ
Hemodialysis, Vitamin B6, Atherosclerosis, Carotid artery wall thickness, Folate, Homocysteinemia, Vitamin B12